ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของฉัน

วันอาทิตย์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

วรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน

ไทยที่ได้รับรางวัลรายชื่อวรรณกรรมสัญชาติวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียนเรียงตามปี


   ลูกอีสาน (พ.ศ. 2522)
 • เพียงความเคลื่อนไหว (พ.ศ. 2523)
ขุนทอง เจ้าจะกลับเมื่อฟ้าสาง (พ.ศ. 2524)
คำพิพากษา (พ.ศ. 2525)
 • นาฏกรรมบนลานกว้าง (พ.ศ. 2526)
 • ซอยเดียวกัน (พ.ศ. 2527) •
ปูนปิดทอง (พ.ศ. 2528)
ปณิธานกวี (พ.ศ. 2529)
ก่อกองทราย (พ.ศ. 2530)
ตลิ่งสูง ซุงหนัก (พ.ศ. 2531)
 • ใบไม้ที่หายไป : กวีนิพนธ์แห่งชีวิต (พ.ศ. 2532)
อัญมณีแห่งชีวิต (พ.ศ. 2533)
 •เจ้าจันท์ผมหอม นิราศพระธาตุอินทร์แขวน (พ.ศ. 2534)
 • มือนั้นสีขาว (พ.ศ. 2535) • ครอบครัวกลางถนน (พ.ศ. 2536)
 • เวลา (พ.ศ. 2537)
 • ม้าก้านกล้วย (พ.ศ. 2538)
 • แผ่นดินอื่น (พ.ศ. 2539) •
ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน (พ.ศ. 2540)
ในเวลา (พ.ศ. 2541)
สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน (พ.ศ. 2542)
 • อมตะ (พ.ศ. 2543)
บ้านเก่า (พ.ศ. 2544)
ความน่าจะเป็น (พ.ศ. 2545)
ช่างสำราญ (พ.ศ. 2546) •
แม่น้ำรำลึก (พ.ศ. 2547)
 • เจ้าหงิญ (พ.ศ. 2548)
 • ความสุขของกะทิ (พ.ศ. 2549)
โลกในดวงตาข้าพเจ้า (พ.ศ. 2550)
 • เราหลงลืมอะไรบางอย่าง (พ.ศ. 2551)
 • ลับแล, แก่งคอย (พ.ศ. 2552)
ไม่มีหญิงสาวในบทกวี (พ.ศ. 2553)
 •แดดเช้าร้อนเกินกว่าจะนั่งจิบกาแฟ (พ.ศ. 2554)
 (พ.ศ. 2554) 


              ลูกอีสาน เป็นหนังสือนวนิยายของคำพูน บุญทวี ได้รับรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียนประจำปี พ.ศ. 2522 และได้รับการนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์เรื่อง ลูกอีสาน ในปีพ.ศ. 2525 รวมทั้งยังได้รับการจัดให้เป็นหนังสือดี 100 เล่มที่คนไทยควรอ่านอีกด้วย การเขียนของผู้เขียนสามารถสะท้อนวิถีชีวิตของชาวอีสานและบรรยายภาพได้สมจริงจนเกิดเป็นมโนภาพ
ลูกอีสาน แต่งโดย คำพูน บุญทวี ในรูปแบบนวนิยาย พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.2519 ที่สำนักพิมพ์บรรณกิจ ความหนา 290 หน้า
หนังสือเล่มนี้ได้รับรางวัลดีเด่น ประเภทนิยาย ของคณะกรรมการพัฒนาหนังสือ ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ปีพ.ศ.2519 และรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมรางวัลซีไรท์ดีเด่นประเภทนิยายประจำปี พ.ศ. 2522 ผู้เขียนซึ่งเป็นชาวอีสานโดยกำเนิดได้นำเอาประสบการณ์และ เกร็ดชีวิตเมื่อสี่สิบกว่าปีก่อนออกมาเขียน เล่าชีวิตช่วงเด็กในแผ่นดินที่ราบสูงสะท้อนออกมาเป็นเรื่องราว ชีวิตชนบทแสดงให้เห็นถึงความเป็นอยู่สภาวะธรรมชาติ ความสุข ความทุกข์ และการต่อสู้อย่างทรหด อดทนกับความแปรปรวนของธรรมชาตินับได้ว่าเป็นงานเขียนที่มีค่าต่อการศึกษาสังคมท้องถิ่นอีสานอย่างมาก
ลูกอีสาน เป็นการนำเอาเรื่องราวจากประสบการณ์ที่ผู้เขียนพบเห็น ถ่ายทอดในรูปของนิยาย โดยได้เขียนเป็นตอนๆ ประมาณ 36 ตอน เพื่อพิมพ์ลงในนิตยสารฟ้าเมืองไทย ช่วงปี พ.ศ.2518 - 2519
ผู้เขียนใช้วิธีการเล่าเรื่องราวโดยผ่านเด็กชายคูน ซึ่งใช้ชีวิตอยู่ในถิ่นชนบท ของอีสาน แถบที่จัดได้ว่าเป็นถิ่นที่แห้งแล้งแห่งหนึ่งของไทยชีวิตความเป็นอยู่ของ ครอบครัวเด็กชายคูน ประกอบด้วยพ่อแม่ และลูก 3 คน และเพื่อนบ้านในละแวกนั้นไม่มีความแตกต่างกันนัก นั่นก็คือ ความจนข้นแค้นต้องหาอาหารตามธรรมชาติทุกอย่างที่กินได้ เมื่อความแห้งแล้งอย่างรุนแรงมาเยือน ครอบครัวเพื่อนบ้านก็เริ่มอพยพออกไป แต่ครอบครัวของเด็กชายคูน และกลุ่มที่สนิทชิดเชื้อกันยังคงอยู่ เพราะเขามีพ่อและแม่ที่เอาใจใส่ ขยันขันแข็งไม่ย่อท้อภัยและอุปสรรคต่างๆ ตลอดจนมองเห็นความสำคัญของการศึกษา แม้จะยากจนอย่างไร เด็กชายคูนก็ได้เข้าเรียนในระดับการศึกษาประชาบาล เด็กชายคูนมีเพื่อนสนิทชื่อจันดี ผู้เป็นคู่หูในการทำอะไรด้วยกันตาม ประสาเด็กผู้ชาย แล้วยังมีครอบครัวของทิดจุ่นและพี่คำกอง สองสามีภรรยา เป็นต้น
ผู้เขียนได้เล่าถึงขนบธรรมเนียม ประเพณี ตลอดจนความเชื่อของชาวอีสาน โดยผ่านเด็กชายคูน รวมไปถึงการบรรยายถึงสภาพความเป็นไปตามธรรมชาติของผู้คนและสภาพแวดล้อม เช่น การเกี้ยวพาราสีกันของทิดจุ่นและพี่คำกอง จนท้ายที่สุดก็ได้แต่งงานกัน การออกไปจับจิ้งหรีดของคูน การเดินทางไปหาปลาที่ลำน้ำชีเพื่อนำปลามาทำอาหาร และเก็บถนอมเอาไว้กินนานๆ ด้วยการทำปลาร้า เป็นต้น เรื่องราวทั้งหมด นั้นเน้นวิถีชีวิตความเป็นอยู่ แสดงวิธีการของการดำรงชีวิตตามธรรมชาติในถิ่นอีสานเป็นสิ่งสำคัญ นอกจากนั้นยังแทรกความสนุกสนามเพลิดเพลินจากการทำบุญตามประเพณีไว้หลายตอนด้วย ได้แก่การจ้างหมอลำหนู ซึ่งเป็นหมอลำประจำหมู่บ้าน ลำคู่กับหมอลำ ฝ่ายหญิงที่ว่าจ้างมาจากหมู่บ้านอื่น ทั้งกลอนลำและการแสดงออกของหมอลำทั้งสองได้สร้างความสนุกสนานครึกครื้นแก่ผู้ชมที่มาเที่ยวงานอย่างมาก
ลูกอีสานเป็นการถ่ายทอดเรื่องราวจากประสบการณ์ด้วยภาษาที่ตรงไปตรงมา และแสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของชาวอีสานว่าต้องเผชิญกับความยากลำบากอย่างไร การเรียนรู้ที่จะอดทนเพื่อเอาชนะกับความยากแค้นตามธรรมชาติ ด้วยความมานะบากบั่น ความเอื้ออารีที่มีให้กันในหมู่คณะ ความเคารพในระบบอาวุโส สิ่งเหล่านี้ปรากฏอยู่ในแต่ละตอนของลูกอีสาน ดังที่พ่อของคูนบอกว่า
"...เรื่องน้ำใจ พ่อของคูนเคยสอนคูนเหมือนกันว่าคนมีชื่อนั้นคือ คน รู้จักสงสารคนและช่วยเหลือคนตกทุกข์ ถ้าไม่มีสิ่งของช่วย ก็เอาแรงกายช่วย และไม่เลือกว่าคนๆ นั้นจะอยู่บ้านใด อำเภอใด"
                เพียงความเคลื่อนไหวเป็นกวีนิพนธ์ของเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ตีพิมพ์ในนิตยสารต่าง ๆ ในช่วงปี พ.ศ. 2516 - 2522 และพิมพ์รวมเล่มครั้งแรก พ.ศ. 2517 เนื้อหากล่าวถึงเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ซึ่งขบวนการนักศึกษาประชาชนได้เรียกร้องรัฐธรรมนูญ และขยายตัวเป็นการเคลื่อนไหวเพื่อความเป็นธรรมด้านต่าง ๆ ของสังคมเนาวรัตน์ได้เขียนบทกวีสนับสนุนการต่อสู้ครั้งนั้น ใจความตอนหนึ่งว่า
การเกิดต้องเจ็บปวด
ต้องร้าวรวดและทรมา
ในสายฝนมีสายฟ้า
ในผาทึบมีถ้ำทอง

มาเถิดมาทุกข์ยาก
มาบั่นบากกับเพื่อนพ้อง
อย่าหวังเลยรังรอง
จะเรืองไรในชีพนี้

ก้าวแรกที่เราย่าง
จะสร้างทางในทุกที่
ป่าเถื่อนในปฐพี
ยังมีไว้รอให้เดิน
— เพียงความเคลื่อนไหว, หน้า 108-109
[แก้]ลักษณะเด่น
งานเนาวรัตน์มีลักษณะเด่นเฉพาะตัวในข้อที่ว่า เขาสามารถถ่ายทอดความคิดและความรู้สึกออกมาอย่างนุ่มนวลดังนั้น เนาวรัตน์จึงมิได้เขียนบทกวีการเมืองจากทฤษฎีหรือตรรกะ แต่เริ่มต้นจากความรู้สึกลึกซึ้งต่อเหตุการณ์ทั้งหลาย ที่ระเบิดออกมาจากภายใน ในเพียงความเคลื่อนไหว เนาวรัตน์ระบายความรู้สึกของเขาออกมาจากความกดดันของเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ว่า
ชั่วเหยี่ยวกระหยับปีกกลางเปลวแดด
ร้อนที่แผดก็ผ่อนเพลาพระเวหา
พอใบไม้ไหวพลิกริกริกมา
ก็รู้ว่าวันนี้มีลมวก
จาก ลมวก นี้ เนาวรัตน์นำคลี่คลายเหตุการณ์ตอนจบบทกวี เพียงความเคลื่อนไหว ว่า
พอเสียงร่ำรัวกลองประกาศกล้า
ก็รู้ว่าวันพระมาอีกหน
พอปืนเปรี้ยงแปลบไปในมณฑล
ก็รู้ว่าประชาชนจะชิงชัย
— หน้า 55
ภาพ เหยี่ยวกระหยับปีกกลางเปลวแดด ในวรรคแรกนั้นเป็นประสบการณ์จริง ของเนาวรัตน์ ขณะที่เขาอยู่ภาคใต้ ซึ่งเขาคิดวรรคอันทรงพลังนี้ขึ้นมา แต่ยังไม่รู้ว่าเหตุการณ์นี้ควรนำไปเปรียบกับอะไร จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม จึงรู้ว่าถึงเวลาของ ลมวกแล้ว นี่คือประสบการณ์ของกวีที่มีความหมายต่อการสร้างสรรค์งานของเขา
จากผลงาน เพียงความเคลื่อนไหว ทำให้เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ได้รับรางวัลซีไรท์ ในปี พ.ศ. 2523 คณะกรรมการตัดสินในปีนั้นกล่าวว่า
ความสามารถในการใช้รูปแบบกวีนิพนธ์ของเขานั้น เป็นที่ยอมรับอยู่แล้ว เขาเป็นศิลปินผู้เชี่ยวชาญทั้งในด้านฉันทลักษณ์ตามแบบแผน และทั้งด้านเพลงพื้นบ้านถึงขนาดที่เรียกว่า ในเพลงกล่อมเด็ก เนาวรัตน์ก็อาจสอดสาระทางการเมือง และสังคมที่ร้อนแรงได้
               ขุนทองเจ้าจะกลับเมื่อฟ้าสาง เป็นหนังสือรวมเรื่องสั้น ของ อัศศิริ ธรรมโชติ โดยหนังสือเล่มดังกล่าวรวมเรื่องสั้นทั้งหมด 13 เรื่องของผู้เขียนคนเดียวกัน รวมเล่มตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2521[ต้องการอ้างอิง] ได้รับรางวัลซีไรต์ประจำปี พ.ศ. 2524
ขุนทองเจ้าจะกลับเมื่อฟ้าสาง ได้รับแรงกระตุ้นจากเหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 คือช่วงที่มีการประกาศเรียกร้องให้ผู้ที่หลบหนีเข้าป่ากลับมารายงานตัว เน้นให้คนสำนึกในเรื่องของภูมิหลังทางประวัติศาสตร์และสังคม เนื้อหาส่วนใหญ่มีแนวทางไปในทางวรรณกรรมเพื่อชีวิต ความกดดันและความขัดแย้งทางการเมือง ผู้แต่งสามารถตีปัญหาสังคมได้อย่างลึกซึ้ง สามารถสร้างตัวละครอันมีมิติเหมือนคนจริง ๆ ที่มีเลือดเนื้อให้จับต้องได้ มีความเศร้าที่อ่อนโยน สามารถสกัดกั้นอารมณ์ ลักษณะการเขียน ผู้เขียนพยายามให้รายละเอียดในการพรรณา เพื่อให้เกิดความรู้สึกที่รุนแรง แต่เขาก็มีทางแก้ด้วยการสร้างอารมณ์ชดเชย ซึ่งเป็นการเขียนที่มีคุณค่ายิ่ง
                คำพิพากษา นวนิยาย ของ ชาติ กอบจิตติ ที่ได้รับรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน หรือ รางวัลซีไรต์ ประจำปี พ.ศ. 2525 จัดพิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2525 โดย สำนักพิมพ์ต้นหมาก มีความหนา 320 หน้า
นอกจากนี้นวนิยายเรื่อง คำพิพากษาที่ได้รับรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน หรือ รางวัลซีไรต์ ประจำปี พ.ศ. 2525แล้ว ยังได้รับรางวัลเมขลาจากดารานำฝ่ายหญิงในปี พ.ศ. 2528 ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 1 (ครั้งแรก) ในบทละครโทรทัศน์ทางไทยทีวีสีช่อง 3 ซึ่งประพันธ์โดย ชาติ กอบจิตติ
                นาฏกรรมบนลานกว้าง เป็นวรรณกรรมได้รับรางวัลซีไรต์ พิมพ์ในปี 2526 เป็นวรรณกรรมประเภทร้อยกรอง โดดเด่นด้วยความหลากหลายของฉันทลักษณ์ และทำนองเสียงที่แตกต่างจากบทกวีร่วมสมัย เขียนเป็นกลอนแปด 11 บท และแทรกร่วมกับฉันทลักษณ์อื่นอีก 11 บท นอกจากนี้ยังประกอบด้วยโคลงสาร สารโศลก 6 เพลงขอทาน เพลงช้าเจ้าหงส์ เพลงโคราช กลอนลำอิสาน และพญา
เป็นเรื่องร่วมสมัยที่ย้อนยุกต์ประวัติศาสตร์มาพรรณาบ้าง เนื้อหาของบทกวีคือการประณามชนชั้นสูงหรือผู้มีอำนาจในสังคม โดยโยงภาพความทุกข์ทรมานและความแค้นของคน ยากจน ผู้ด้อยโอกาสกับเหตุการณ์ 14 ตุลาคม และ เหตุการณ์ 6 ตุลาคม เข้ามาเปรียบเทียบเชิงอุปมา ผู้เขียนสามารถประสมประสานถ้อยคำ สำนวนทั้งเก่าและใหม่เข้าในโครงสร้างอันสมดุลแบบเก่า คำที่เลือกใช้มีเสียงและความหมายเหมาะกับปริบทอย่างมาก
                ซอยเดียวกัน เป็นหนังสือรวมเรื่องสั้น แต่งโดย วาณิช จรุงกิจอนันต์ ได้รับรางวัลซีไรต์ พ.ศ. 2527
ประวัติหนังสือ
หนังสือเรื่องซอยเดียวกันนี้ เกิดจากความตั้งใจของ วาณิช จรุงกิจอนันต์ ผู้เขียน ที่ต้องการจะมีหนังสือรวมเรื่องสั้นเป็นของตนเอง เนื่องจากผู้เขียนให้ความสำคัญกับคำว่า "นักเขียน" มาก จึงรู้สึกกระดากปากที่จะเรียกตัวเองเช่นนั้น จนเมื่อได้ออกหนังสือเรื่องซอยเดียวกัน ผู้เขียนได้กล่าวไว้ในคำนำว่า ผมเขียนหนังสือรวมพิมพ์เป็นเล่มมาแล้วหลายเล่ม แต่กล่าวได้ว่าเล่มที่ทำให้ผมรู้สึกว่าเป็นนักเขียนโดยสมบูรณ์คือเล่มนี้ เล่มที่ให้ชื่อว่าซอยเดียวกันนี้
จากความตั้งใจของผู้เขียนนี่เอง ทำให้ซอยเดียวกันสำเร็จเป็นรูปเล่มในปี พ.ศ. 2526 และหนังสือเล่มนี้ก็เป็น 1 ใน 47 เล่ม ที่ผ่านเข้าพิจารณารางวัลซีไรต์ ด้วยเหตุว่าหนังสือเล่มนี้มีกลวิธีการนำเสนอที่แปลกใหม่ กล้าสร้างสรรค์รูปแบบที่แตกต่าง มีเนื้อหาสะท้อนชีวิตได้อย่างโดดเด่น บวกกับฝีมือทางวรรณศิลป์ ทำให้ซอยเดียวกันกลายเป็นหนังสือที่ได้รับรางวัลซีไรต์ในปี พ.ศ. 2527 ในที่นี้ขอกล่าวตัวอย่าง เรื้องสั้นที่รวบรวมไว้ใน ซอยเดียวกัน 
                 ปูนปิดทองเป็นหนังสือนวนิยายของ กฤษณา อโศกสิน ได้รับรางวัลซีไรต์ในปี พ.ศ. 2528 มีเนื้อหาที่เกี่ยวกับปัญหาของครอบครัวในสังคมไทยส่วนใหญ่
เนื้อเรื่อง  ตัวละครเอกในเรื่องได้แก่ สองเมือง และ บาลี ทั้งคู่เกิดมาในครอบครัวที่พ่อแม่หย่าร้าง เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ บาลีศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นในวัยเด็ก และชักจูงให้สองเมืองลืมความข่มขื่นใจที่เคยเกิดขึ้น ทำสองเมืองรักบาลี และมั่นใจว่าชีวิตคู่ของเขาและเธอจะไม่เป็นอย่างพ่อกับแม่ และจะเป็นพ่อแม่ที่เป็นตัวอย่างที่ดี ไม่ใช่เป็นเพียงรูปหล่อปูนที่ปิดด้วยทอง ซึ่งไม่มีค่าอะไร
                 ปณิธานกวี เป็นหนังสือรวมกวีนิพนธ์ของ อังคาร กัลยาณพงศ์ แต่ละบท ร้อยกรองด้วยคำประพันธ์ที่มีลักษณะเฉพาะตัวของผู้เขียนซึ่ง รักความอิสรเสรี รักธรรมชาติ และเป็นศรัทธาในรสพระธรรม บทประพันธ์ทุกบทจะสะท้อนชีวิต วิญญาณ คติชีวิต ปรัชญา และสัจธรรม ด้วยกลวิธีของศิลป "
ปณิธานกวี " เป็นบทประพันธ์ บทหนึ่งที่ผู้เขียนได้ฝากความคิดแก่ผู้อ่านว่า "แย่งแผ่นดินอำมหิตคิดแต่ฆ่า เพราะกิเลสบ้าหฤโหดสิงซากผี ลืมป่าช้าคุณธรรมความดี เสียศรีสวัสดิ์ค่าแท้วิญญาณฯ " อีกทั้งทางมูลนิธิเสฐียรโกเศศและนาคะประทีป ยกย่องให้อังคารเป็น "กวีดีเด่น" เมื่อปี พ.ศ. 2515 และ "ปณิธานกวี " มีภาพประกอบงดงามโดย ผู้เขียนและมีภาคผนวกสัมภาษณ์ชีวิตและผลงานอีกด้วย
               ก่อกองทราย เป็นหนังสือประกอบด้วยเรื่องสั้นรวม 12 เรื่อง ของ ไพฑูรย์ ธัญญา มีลักษณะที่แสดงให้เห็นถึงชีวิตและธรรมชาติของมนุษย์ที่เป็นสากล ดังเช่นมนุษย์ทั่วไปในโลกพึงจะเป็น และในขณะเดียวกันก็มีสีสันของท้องถิ่นและความเป็นไทย ทั้งในด้านถ้อยคำและการใช้ฉากอันเป็นท้องเรื่อง
เนื้อเรื่องมีความหลากหลายแสดงปัญหาและแง่มุมต่าง ๆ ของชีวิตหลายเรื่อง เช่น คนบนสะพาน บ้านใกล้เรือนเคียง และเพื่อนบุณย์ ได้สะท้อนธาตุแท้ของคนส่วนเรื่อง คำพยากรณ์ และ นกเขาไฟ ได้เน้นความคิด ความเชื่อของคนในชนบทที่แสดงถึงสัจธรรมของชีวิตโดยแท้จริง ตลอดจนถึงสำนวนที่ใช้สามารถให้ผู้อ่านได้สัมผัสอย่าง สมจริง เช่น หากก่อกองทรายให้เท่าเจดีย์ในวัดมันคงจะไม่พังง่าย ๆ ถึงพังก็ไม่หมดเพราะทรายไม่เคยหมด
               ตลิ่งสูง ซุงหนัก เป็นนวนิยายของ นิคม รายยวา ได้รับรางวัลซีไรต์
เนื้อเรื่อง คำงายเป็นควาญช้างของพลายสุด เขารักพลายสุดมากเพราะเคยเลี้ยงมันมาตั้งแต่เล็ก แต่เนื่องจากความจำเป็นในครอบครัวเขา จึงต้องเสียพลายสุดไป เมื่อมาพบพลายสุดอีกครั้งหนึ่งเขาก็พบว่าพลายสุดได้สูญเสียงาไปหมดเหลือแต่งวงที่ใช้งัดและยกซุง นอกจากจะเป็นควาญช้างแล้วคำงายยังแกะสลักช้างไม้ได้ด้วยแต่เขาไม่ชอบงานนี้ ตอนจบของเรื่องเขาได้ตกลงกับนายของเขาโดยเอาช้างไม้แกะสลักแลกกับพลายสุด แต่ทั้งคำงายและพลายสุดไม่มีโอกาสที่จะได้พบความสุขอย่างแท้จริง เพราะขณะที่กำลังขนซุงขนาดหนัก พลายสุดได้พลาดท่าตกจาก ตลิ่งสูง ทั้งสองเสียชีวิตพร้อมกัน
ผู้เขียนต้องการจะเน้นให้เห็นว่าคนส่วนมากชอบติดอยู่กับซากมากกว่าสิ่งมีชีวิต และทุกคนมีการเกิดและตายอย่างละหนึ่งครั้งเท่านั้น แต่สิ่งที่อยู่ระหว่างสิ่งนั้นเราต้องหาเอง ชีวิต คือ การรับส่วนแบ่งที่ต้องเฉลี่ยกันไม่ว่า ความทุกข์ ความสุข ความดี ความเลว แต่ละคนมักจะแย่งกัน รับความดีไว้มากกว่า ส่วนด้านไม่ดีไม่อยากยอมรับกัน
              เจ้าจันท์ผมหอม นิราศพระธาตุอินทร์แขวน เป็นนวนิยายขนาดสั้นของมาลา คำจันทร์ ได้รับรางวัลซีไรต์
เนื้อเรื่อง เปิดตัวเมื่อปี พ.ศ. 2461 เจ้าจันท์เป็นเจ้าหญิงล้านนาคนงาม เธอเดินทางไปบูชาพระธาตุอินทร์แขวน ซึ่งเป็นพระธาตุประจำปีเกิดที่อยู่ในเขตพม่าใกล้เมืองเชียงใหม่ ด้วยความตั้งใจว่าจะตัดผมหอมบูชาพระธาตุ ตำนานเล่าว่าผู้ใดที่ปูผมลอดพระธาตุได้ จะสมหวังในสิ่งใดก็ตามที่ตั้งใจไว้ และสำหรับเจ้าจันท์แล้ว เธอกำลังต้องการให้ความหวังที่มีอยู่เป็นจริงอย่างเหลือเกิน
เจ้าจันท์เดินทางไปกับบริวารและพ่อเลี้ยง ผู้ที่เจ้าพ่อและเจ้าแม่เห็นดีงามว่าควรแต่งกับเจ้าจันท์ แต่เจ้านางน้อยนี้มีคนรักอยู่สุดใจแล้ว และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างพ่อเลี้ยงกับเจ้าพี่อินทะ ผู้พร้อมทั้งรูปโฉมและโคลงหวานแล้ว พ่อเลี้ยงก็เป็นประหนึ่งยักษ์มารที่เจ้าจันท์ชิงชังนัก
การเดินทางไปพระธาตุนี้ จึงเป็นเรื่องตัดสินชีวิตและหัวใจของเจ้าจันท์ ที่จะได้เรียนรู้หัวใจตนเอง และได้รู้จักน้ำใจพ่อเลี้ยงที่แม้จะรักเธอเพียงใด ก็ได้ให้สัจจะว่าหากเจ้าจันท์ปูผมหอมลอดพระธาตุได้ เขายินดีจะให้เจ้าจันท์แต่งงานกับชายคนรัก
                มือนั้นสีขาว แต่งโดย ศักดิ์ศิริ มีสมสืบ เป็นหนังสือรวมบทกวีนิพนธ์ไทยสมัยใหม่ได้รับรางวัลซีไรต์ ที่มีลักษณะสร้างสรรค์ทั้งความคิดและวิธีการนำเสนอ มุ่งแสดงอุดมคติอันเชิดชูคุณค่าความบริสุทธิ์ และความมีน้ำใจของมนุษย์ กวีถ่ายทอดความคิดเป็นรูปธรรมที่เข้าใจง่ายผ่านบุคคลและเหตุการณ์สมมุติ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ในชีวิตจริงและสังคมจริง แสดงความแตกต่างระหว่างสภาวะอันบริสุทธิ์ไม่เสแสร้งของเด็ก กับสภาวะของผู้ใหญ่ที่ถูกครอบงำด้วยกรอบสังคม ในแต่ละบทกวีได้เสนอแง่ความคิดอย่างประณีตหลายนัย ตีความได้กว้างขวางลึกซึ้งด้วยกลการประพันธ์ที่เฉียบคม การประพันธ์ลักษณะของฉันทลักษณ์มี รูปแบบเป็นธรรมชาติสอดคล้องกับเนื้อหา คำที่ใช้เป็นคำง่าย ๆ เรียงร้อยอย่างมีลีลาจังหวะ สร้างลำนำอันทรงพลัง ให้จินตนาการภาพชัดสื่อความคิดของกวีกระทบอารมณ์และเร้าความคิดผู้อ่าน เป็นการจรรโลงความหวังให้เห็นว่าโลกอาจสงบงดงามได้ด้วยนำใจอัน บริสุทธิ์ของมนุษย์ด้วยกันเอง เป็นวรรณกรรมที่มีความดีเด่นสมควรได้รับการยกย่องเป็นวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยม
                ครอบครัวกลางถนน เป็นหนังสือรวมเรื่องสั้นที่ได้รับรางวัลซีไรต์ของ ศิลา โคมฉาย ที่ผู้เขียนใช้ความหลักแหลมแยบยล สร้างสรรค์งานขึ้นจากความเข้าใจชีวิตและสังคมรอบตัวมีลีลา การเขียนที่สมบูรณ์ด้วยกลวิธีทางวรรณศิลป์ ใช้สำนวนโวหารที่สร้างบรรยากาศและจินตภาพ ทำให้ผู้อ่านสามารถสัมผัสอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดของตัวละครได้อย่างแนบเนียน
                 นอกจากนี้ยังมีเรื่องสั้นอีก 13 เรื่องด้วยกัน ส่วนใหญ่แสดงภาพชีวิตของคนชั้นกลางในเมืองหลวง ที่กำลังต่อสู้ดิ้นรนท่ามกลางความผันแปรของสังคมปัจจุบัน ผู้เขียนได้ดึงปัญหาต่าง ๆ หลากหลายแง่มุม มาร้อยเป็นเรื่องราวที่สะท้อนสภาพชีวิตของคนในสังคมปัจจุบัน ที่กำลังเผชิญกับปัญหาครอบครัว เศรษฐกิจ และการเมือง ผู้เขียนได้สร้างสรรค์ภาพชีวิต ด้วยภาษาที่กระชับก่อให้เกิดจินตนาการ ทำให้รู้สึกสะเทือนใจ และสำนึกถึงบทบาทของตนเอง ในฐานะสมาชิกของสังคม ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2536 ในปีเดียวกับที่ได้รับรางวัลซีไรต์
รายชื่อตอนทั้งหมด
1.      ขาซ้ายของแม่
2.      ถ้าผมเป็นพ่อ
3.      ด่าน
4.      คืนเหน็บหนาว
5.      ดอกเลือด
6.      ผู้เข้าใจ
7.      ครอบครัวกลางถนน
8.      อิสรภาพ
9.      มีดของนาย
10. มโนกรรม
11. เทพธิดา
12. เสียหมา
13. เด็กหัวขี้เลื่อย
ซึ่งในตอน ครอบครัวกลางถนน และ เสียหมา ยังเคยดัดแปลงสร้างเป็นละครโทรทัศน์ชุดซีรีส์ซีไรต์ ออกอากาศทางช่อง 9 เมื่อปี พ.ศ. 2545 ซึ่งในตอน ครอบครัวกลางถนน นำแสดงโดย ทรงสิทธิ์ รุ่งนพคุณศรี และ อริสรา กำธรเจริญ
                  เวลา นวนิยายแนวใหม่ของ ชาติ กอบจิตติ เขียนเสร็จเมื่อวันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2536 มีความยาวทั้งหมด 232 หน้า เนื้อเรื่องเป็นเรื่องราวของผู้กำกับภาพยนตร์คนหนึ่งที่สูญเสียภรรยาและลูกสาวไปให้กับการทำงานของตนเอง ที่เข้าไปดูละครเวทีของนักศึกษากลุ่มหนึ่งที่กำลังลาโรง แรงจูงใจของเขาที่ทำให้ไปดูละครเวทีเรื่องนี้ก็เพราะได้อ่านคำวิจารณ์มาก่อนว่า เป็นละครเวทีที่น่าเบื่อที่สุดในรอบปีและเป็นละครเวทีที่เกี่ยวกับคนแก่ในบ้านพักคนชรา ทั้ง ๆ ที่กลุ่มผู้สร้างเป็นเพียงนักศึกษาที่ยังเรียนไม่จบด้วยซ้ำ
เวลา ใช้วิธีการเล่าเรื่องโดยสมมติให้ผู้อ่านเป็นผู้กำกับภาพยนตร์คนนี้ที่กำลังดูละครเวทีเกี่ยวกับชีวิตคนแก่อยู่ ในบางช่วงให้ตัวผู้กำกับฯนี้สนทนากับผู้อ่านและตัดสลับกับมุมกล้อง โดยดำเนินเรื่องผ่านช่วงเวลาในแต่ละชั่วโมงตั้งแต่เช้าจนเย็น ตอนจบเป็นการหักมุม โดยให้เห็นว่าในห้องกรงที่ดูเหมือนว่ากักขังคนแก่ที่คอยตะโกนซ้ำ ๆ ซาก ๆ ว่า "ไม่มีอะไร ไม่มีจริง ๆ" ก็ไม่มีอะไรเลยจริง ๆ ในห้องนั้น
ชาติ กอบจิตติ ได้อุทิศหนังสือเล่มนี้แด่ ปู่ ย่า ตา ยาย ของตัวเอง และของทุก ๆ คน พร้อมกับย้ำเสมอ ๆ ว่า นวนิยายของเขาเรื่องนี้น่าเบื่อจริง ๆ
หนังสือตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2536 โดยสำนักพิมพ์หอน ที่เจ้าตัวเป็นเจ้าของเอง ได้รับรางวัลนวนิยายดีเด่นแห่งปีประจำปี พ.ศ. 2537 และรางวัลซีไรต์ปีเดียวกัน[1] ซึ่งเป็นรางวัลซีไรต์ครั้งที่สองของชาติ กอบจิตติ ด้วย หลังจากที่เคยได้มาแล้วจาก คำพิพากษา ในปี พ.ศ. 2525
                  ม้าก้านกล้วย เป็นกวีนิพนธ์ แต่งโดยไพวรินทร์ ขาวงาม โดยอาศัยจินตนาการจากวัยเยาว์ เชื่อมโยงเข้ากับโลกปัจจุบันที่เติบวัยและเติบโตเชิงความคิด เป็นความผูกพันของนักเขียนที่ยังไม่ลืมถิ่นเก่าบ้านเกิด แม้จะมาใช้ชีวิตเพื่อหน้าที่การงานในกรุงเทพฯ แต่อารมณ์ ถวิลหาต่อทุ่งนา และน้ำใสใจจริงของคนชนบทยังคงมีอยู่ไม่เสื่อมคลาย และเป็นจุดเริ่มให้กวีอาสาเป็น สารถีขี่ม้าก้านกล้วยหนีโลกแห่งความแออัดแบบวิถีเมือง ทะยานสู่โลกแห่งความงามธรรมชาติแบบวิถีชนบท เพื่อนำมาสู่การตริตรองและแสวงหา ถิ่นใดที่ควรค่าแก่การรอนแรมมาพักพิง และชื่นชมความงามในระดับจิตวิญญาณ
                ม้าก้านกล้วย ได้รับรางวัลซีไรต์เมื่อปี พ.ศ. 2538[1] และได้รับเลือกให้เป็นหนังสือนอกเวลาภาษาไทย ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
ม้าก้านกล้วย ได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษในชื่อว่า "Banana Tree Horse" โดย หม่อมหลวงพีระพงศ์ เกษมศรี อดีตราชเลขาธิการ [
                 แผ่นดินอื่น เป็นหนังสือรวมเรื่องสั้นของ กนกพงศ์ สงสมพันธุ์ประกอบด้วยเรื่องสั้น 8 เรื่อง ที่สะท้อนปัญหาของชีวิตและวัฒนธรรมท้องถิ่น ทั้งในระดับปัจเจกบุคคล ครอบครัว สังคม นำเสนอชีวิตหลากหลายด้วยแนวธรรมชาตินิยมสะท้อนความคิด ความเชื่อ คุณค่า และคตินิยมพื้นถิ่นอย่างลึกซึ้งและแหลมคม ชี้ให้เห็นว่าสังคมแม้ต่างวัฒนธรรม ต่างความเชื่อ มนุษย์ก็สามารถอยู่ร่วมกันได้โดยไมตรีสัมพันธ์ เป็นเรื่องสั้นที่มีคุณค่าทางวรรณศิลป์ การนำเสนอรายละเอียดประณีต เปิดโอกาสให้ผู้อ่านได้ใช้จินตนาการที่เป็นอิสระ ผู้เขียนใช้ภาษาถ่ายทอดเหตุการณ์และความรู้สึกได้อย่างงดงาม
แผ่นดินอื่น ได้รับรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (รางวัลซีไรต์) เมื่อปี พ.ศ. 2539[
               ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน เป็นหนังสือของ วินทร์ เลียววาริณ วางจำหน่ายใน พ.ศ. 2537 และได้รางวัลซีไรต์ใน พ.ศ. 2540[1] ฉบับภาษาอังกฤษให้ชื่อว่า (Democracy, Shaken & Stirred) วางจำหน่าย พ.ศ. 2546 เป็นนิยายเชิงการเมืองไทย โดยดำเนินเรื่องตามการปฏิวัติในประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2475 จนถึงเหตุการณ์พฤษภาทมิฬใน พ.ศ. 2535 ตัวละครหลักในเรื่องเป็นตัวละครสมมติ แต่มีการใช้บุคคลในประวัติศาสตร์มากมาย วินทร์ได้ใช้ลักษณะการเขียนแบบเดียวกันนี้ในนิยายอีกเรื่องของเขา คือ ปีกแดง (พ.ศ. 2545) เพียงแต่เป็นเรื่องของลัทธิคอมมิวนิสต์ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ
สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน เขียนโดย วินทร์ เลียววาริณ เป็นหนังสือรวมเรื่องสั้นที่สะท้อนสัญชาตญาณของความเป็นคนออกมาได้ดี ทั้งในแง่ของความต้องการทางกายภาพ ความรู้สึกนึกคิดและอารมณ์พื้นฐานของคน ผู้เขียนได้ชี้ให้เห็นว่าพฤติกรรมของคนที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากสิ่งที่หล่อหลอมสิ่งมีชีวิตชนิดนี้ขึ้นมา เช่น องค์ประกอบของธาตุ มวลสสาร พันธุกรรมและดีเอ็นเอ และส่วนหนึ่งมาจากการขัดเกลาทางสังคม เช่น จารีตประเพณี ความเชื่อและศาสนา
สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน เป็นการผสมผสานบทความ 17 บทความ และเรื่องสั้น 17 เรื่อง ผู้เขียนใช้บทความอธิบายความคิด ประเด็นทางปรัชญา และเป็นตัวนำเรื่องสั้นแต่ละเรื่องให้ผู้อ่านไปถึงจุดหมายที่ผู้เขียนต้องการจะสื่อ บทความและเรื่องสั้นจึงมีความสัมพันธ์กันเป็นคู่ๆ ถือเป็นกลวิธีการสร้างสรรค์เรื่องสั้นที่น่าสนใจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น