เรื่องสั้น คือ บันเทิงคดีร้อยแก้วรูปแบบหนึ่ง มีลักษณะคล้าย นวนิยาย แต่สั้นกว่า โดยมีเหตุการณ์ในเรื่องและตัวละครน้อย มักจบแบบพลิกความคาดหมายหรือจบแบบทิ้งให้คิด เป็นต้น การดำเนินเรื่องจะมุ่งเข้าสู่ประเด็นหลักอย่างรวดเร็ว ต้นกำเนิดของเรื่องสั้นมาจากประเพณีการเล่านิทาน ซึ่งมักจะปูโครงเรื่องอย่างคร่าวๆ แล้วเข้าสู่จุดสำคัญของเรื่องอย่างรวดเร็ว
ลักษณะเด่นของเรื่องสั้นคือ มักมีเหตุการณ์หลักเพียงเหตุการณ์เดียว โครงเรื่องเดียว ฉากเดียว จำนวนตัวละครเพียงไม่กี่ตัว และมีระยะเวลาตั้งแต่ต้นจนจบเรื่องไม่นานนัก
ประวัติเรื่องสั้น
เรื่องสั้นของไทยนั้นมีพัฒนาการมาจากงานเขียนประเภทนิทาน ขณะเดียวกันเรื่องสั้นของไทยได้รับแบบอย่างมาจากตะวันตก เรื่องสั้นจึงมีเนื้อเรื่องที่แตกต่างไปจากนิทานเดิมของไทยมาก กล่าวคือ เรื่องสั้นนั้นมีโครงเรื่อง เนื้อหา ฉาก บรรยากาศ บทสนทนา และตัวละครสมจริง มีแก่นเรื่องสะท้อนปัญหาสังคม หรือแสดงความคิดเห็นของผู้แต่งที่กว้างขวางกว่าเดิม ทั้งยังเป็นการสื่อสารความคิดระหว่างผู้เขียนกับผู้อ่านโดยตรง และผู้เขียนเองไม่ได้สรุปข้อคิดไว้ในตอนท้ายของเรื่องอย่างนิทาน
เรื่องสั้นเรื่องแรกของไทยคือ "พระเปียให้ทานธรรม" พ.ศ. 2430 และต่อมาเรื่องสั้น ชื่อ "สนุกนึก" พระนิพนธ์กรมหลวพิชิตปรีชากร จากนั้นมาเรื่องสั้นของไทยได้พัฒนาตนเองให้ก้าวพ้นจากเรื่องสั้นกึ่งนิทานและกึ่งเรื่องสั้นแบบฝรั่งมาเป็นแบบไทยแท้ การพัฒนาการที่เห็นได้ชัดเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2472 เป็นต้นมา
ปัจจุบันเรื่องสั้นของไทยมีทั้งเรื่องสั้นแปลจาก และเรื่องสั้นของคนไทยเอง ซึ่งเป็นทั้งเรื่องสั้นแนว ทดลอง หรือที่เรียกว่า เรื่องสั้นabstrat คือ เรื่องที่เป็นนามธรรม และ เรื่องสั้นแนว realism คือบรรยายภาพออกมาอย่างชัดเจน การตีความจะน้อยกว่างาน abstrat
องค์ประกอบของเรื่องสั้น ได้แก่
1. แก่นเรื่อง เป็นจุดสำคัญของเรื่องที่ผู้เขียนต้องการสื่อ ซึ่งมีเพียงแก่นเดียว
2. โครงเรื่อง ต้องมีการวางโครงเรื่องที่ดี น่าสนใจ มีการผูกและคลายปม
3. ตัวละคร เรื่องสั้นจะมีตัวละครน้อย มีเพียง 2-3 ตัวเท่านั้น
4. บทสนทนา สำคัญต่อเรื่องมาก เพราะทำให้เรื่องดำเนินไปได้
5. ฉาก สถานที่เกิดเหตุการณ์ คือเวลา สภาพแวดล้อม มักจะมีเพียงฉากเดียว
6. บรรยากาศ เป็นอารมณ์ของตัวละคร ซึ่งจะทำให้ผู้อ่านเกิด ความคล้อยตามและเข้าใจเรื่องมากยิ่งขึ้น
1. แก่นเรื่อง เป็นจุดสำคัญของเรื่องที่ผู้เขียนต้องการสื่อ ซึ่งมีเพียงแก่นเดียว
2. โครงเรื่อง ต้องมีการวางโครงเรื่องที่ดี น่าสนใจ มีการผูกและคลายปม
3. ตัวละคร เรื่องสั้นจะมีตัวละครน้อย มีเพียง 2-3 ตัวเท่านั้น
4. บทสนทนา สำคัญต่อเรื่องมาก เพราะทำให้เรื่องดำเนินไปได้
5. ฉาก สถานที่เกิดเหตุการณ์ คือเวลา สภาพแวดล้อม มักจะมีเพียงฉากเดียว
6. บรรยากาศ เป็นอารมณ์ของตัวละคร ซึ่งจะทำให้ผู้อ่านเกิด ความคล้อยตามและเข้าใจเรื่องมากยิ่งขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น