ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของฉัน

วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กำเนิดนวนิยายไทย

                    กำเนิดของเรื่องสั้น และนวนิยายสมัยใหม่ในประเทศไทยเกิดพร้อมๆ กับการรับอิทธิพลด้านวัฒนธรรมอื่น จากชาติตะวันตก ในปี พศ. 2378 คณะมิชชันนารีอเมริกันได้นำเทคนิควิทยาการการพิมพ์เข้ามาใน ประเทศไทย หนังสือพิมพ์ฉบับแรกของไทยเกิดเมื่อ ปี พศ. 2400 ชื่อ "ราชกิจจานุเบกษา" และทำให้เกิด หนังสือพิมพ์ตามมากอีกหลายฉบับ
                  สำหรับการแต่งนวนิยายเป็นเรื่องแรกนั้น ผู้รู้หลายท่านมักจะกล่าวว่าเรื่อง "สนุกนิ์นึก" ซึ่งแต่งโดยกรมหลวง พิชิตปรีชาการ ซึ่งตีพิมพ์หนังสือวชิรญาณวิเสศ (แผ่น 28 วันที่ 6 เดือน 8 ปีจอ อัฐศก 1248) เป็นเรื่องแต่ง ที่มีแนวโน้มจะเป็นวนิยายเรื่องแรกของไทยที่แต่งเลียนแบบนวนิยายตะวันตก อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ก็แต่ง ได้เพียงตอนเดียวก็ถูกระงับ เนื่องจากถูกกล่าวหาว่ามีเนื้อหากระทบกระเทียบต่อศาสนาในสมัยนั้น นวนิยายเต็มเรื่อง เรื่องแรกของไทยเป็นนวนิยายแปลเรื่อง "ความพยาบาท" ที่ แม่วัน แปลมาจากหนังสือชื่อ vandetta ของmarie corelli ซึ่งตีพิมพ์เป็นตอน ในหนังสือลักวิทยา ในช่วงปี พศ. 2445 และหลังจากนั้น ก็สร้างแรงจูงใจให้ "ครูเหลี่ยม" เขียนนวนิยายไทยที่เป็นเนื่องเรื่องแบบไทยแท้ล้อเลียนเรื่องแปลของแม่วัน โดยใช้ชื่อว่า "ความไม่พยาบาท" ในปี พศ. 2458
           งานเขียนเรื่องสั้นและนวนิยายมีวิวัฒนาการเรื่อยมา จนกระทั่งช่วง พศ. 2471-2472 ซึ่งถือเป็นช่วงเวลา ที่สำคัญอีกช่วงหนึ่งของประวัติวรรณคดีไทย เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่เกิดนักเขียนซึ่งทำให้เกิดเป็นแรงบันดาลใจ ให้มีการเขียนเรื่องสั้นและนวนิยายในยุคต่อมา คือ ในปี .. 2471 กุหลาบ สายประดิษฐ์ หรือ ศรีบูรพา แต่ง "ลูกผู้ชาย" ซึ่งได้รับความนิยมมาก พศ. 2472 ดอกไม้สด แต่ง "ศตรูของเจ้าหล่อน" และ หม่อมเจ้าอากาศ ดำเกิงรพีพัฒน์ แต่ง "ละครแห่งชีวิต"
                 นักเขียนทั้งสามท่านเขียนเรื่องราวออกมาจากโดยใช้พลอต หรือแนวเรื่องแตกต่างจากนวนิยายต่างประเทศ ในสมัยนั้น ทำให้นักเขียทั้งสามท่านได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้ริเริ่มให้เกิดการเขียนซึ่งวางโครงเรื่องเป็นแบบ ไทย และเป็นต้นแบบการเขียนนวนิยายมาจนถึงปัจจุบัน
ถึงแม้เรื่องสั้น และนวนิยายถูกนับว่าเป็นบันเทิงคดี คือเรื่องที่แต่งขึ้นมาจากจินตนากรของผู้เขียนเป็นส่วนใหญ่ แต่นวนิยายก็มีประโยน์และมีคุณค่าในตัวของมันเอง เรื่องสั้นและนวนิยายสามารถบอกเรื่องราว และความนึกคิด ของคนในสมัยต่าง ได้ เช่น เรื่องสี่แผ่นดิน ของ มรว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ที่สะท้อนเรื่องราวของชีวิตไทยในอดีต เรื่องราวของสงครามโลกครั้งที่สองใน คู่กรรม เป็นต้น
              เรื่องสั้นและนวนิยายไทยมีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงเนื้อหาไปตามกาลเวลา ปัจจุบันการศึกษาของประชาชนใน ประเทศไทยโดยเฉลี่ยสูงขึ้น ทำให้ความต้องการบริโภคอาหารสมอง และเรื่องราวบันเทิงคดีต่าง มากขึ้นตามไปด้วย วิวัฒนาการของนวนิยายไทย จึงน่าจะมีพัฒนาการต่อไปอีกนาน และนกจากให้ความบันเทิงแล้ว นวนิยายังสามารถ บอกเล่าเรื่องราวชีวิต และประวัติศาสตร์ชาติไทยให้คนรุ่นต่อไปได้นำมาศึกษาอีกทางหนึ่ง
 เปรียบเทียบข้อแตกต่างระหว่างนวนิยายกับเรื่องสั้น

นวนิยาย
เรื่องสั้น
1. มีโครงเรื่องแสดงวัตถุประสงค์หลายอย่าง

1. มีโครเรื่องแสดงวัตถุประสงค์และผลอย่างเดียว
2. มีขนาดยาวกว่าเรื่องสั้น
2. มีขนาดสั้นสมลักษณะ
3. มีตัวละครมาก
3. มีตัวละครน้อย
4. มีเวลาสืบเนื่องกันนานมากเท่าไหร่ก็ได้ไม่จำกัด
4. มีระยะเวลาในท้องเรื่องน้อย ถ้าเวลามากจะต้องไม่สือบเนื่อง
5. จะพรรณนาให้ยืดยาวก็ได้ ตามความยาวและความเหมาะสม
5. ต้องเขียนโดยประหยัดถ้อยคำไม่ควรพรรณนาฟุ่มเฟือย

คำอธิบาย: http://www.dek-d.com/contentimg/nut/nut%5b1%5d.gif
ขอขอบคุณข้อมูลจากเวบเด็กดี
-เถกิง พันธ์เถกิงอมร "นวนิยายและเรื่องสั้น การศึกษาเชิงวิเคราะห์" คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฎ
-สงขลา2541
หนังสือ "กำเนิดนวนิยายในประเทศไทย" โดย วิภา กงกะนันท์
    -ปากกาทอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น