ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของฉัน

วันอาทิตย์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กำเนิดวรรณกรรมไทย

    กำเนิดและวิวัฒนาการของวรรณกรรมไทยปัจจุบัน

       กำเนิดและวิวัฒนาการของวรรณกรรมไทยปัจจุบันกำเนิดวรรณกรรมไทยปัจจุบันจากการศึกษาวรรณกรรมในรัชกาล พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สุพรรณี วราทร พบว่า ในช่วงปลายของรัชกาลนี้ วรรณกรรมไทยเริ่มเปลี่ยนแนวนิยมจากร้อยกรอง ไปเป็น ร้อยแก้ว และเปลี่ยนแนวนิยมจากเรื่องนิยายอิงพงศาวดารจีนและเรื่องจักรๆ วงศ์ๆ ไปเป็นเรื่องแปลจากบันเทิงคดีจากภาษาตะวันตก และเรื่องอ่านเล่นที่แต่งขึ้นใหม่ในลักษณะของเรื่องสั้นและนวนิยาย สิ่งที่ช่วยยืนยันความเปลี่ยนแปลงนี้อีกประการคือ ข้อความที่ เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) กล่าวไว้ในคำนำของหนังสือพิมพ์ลักวิทยาฉบับแรก เมื่อเดือนกรกฎาคม ร.ศ. ๑๑๙ (พ.ศ. ๒๔๔๓) ตอนหนึ่งว่า
“…เราเกือบจะกล่าวได้ว่าเวลานี้เรื่องจักรๆ วงศ์ๆ เป็นของที่ไม่ใคร่มีใครเอาใจใส่เท่าใดแล้ว แลตามความเห็นของเรานั้น ถ้าเอาเรื่องมาแต่งเป็นกลอนเข้าแล้วทำให้หายขบขันเสียโดยมาก แลเรื่องที่แต่งเป็นกลอนได้นั้นมักเป็นเรื่องที่แต่งสำหรับอ่านกลอน หาใช่สำหรับอ่านเนื้อเรื่องไม่ เพราะเรื่องเหล่านี้พอจับอ่านเข้าก็คาดหน้าได้เสียเกือบหมดแล้วว่า มนุษย์หนุ่มจะไปฆ่ายักษ์ตายแล้วได้ลูกสาวยักษ์เป็นเมียคนหนึ่ง แล้วไปได้อีกคนหนึ่ง แล้วมีลูก ๆ ฆ่ายักษ์ได้ลูกสาวตามพ่อต่อๆ กันไป การที่เรากล่าวมาดังนี้มิใช่จะติเตียนกลอนว่าเป็นของไม่ดีเมื่อใด เราเองก็ชอบเรื่องกลอนอยู่ แต่ถึงอย่างนั้นก็ดีความจริงยังยืนที่อยู่ว่าเวลานี้ไม่ใคร่มีใครเอาใจใส่เรื่องกลอนดังที่กล่าวมานั้นเท่าใดแล้ว…”
         กล่าวโดยสรุป วรรณกรรมไทยปัจจุบันน่าจะถือกำเนิดขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพราะลักษณะของวรรณกรรมไทยในช่วงนี้ได้เปลี่ยนแปลงไปจากวรรณคดีไทยเดิมอย่างเห็นได้ชัดเจนทั้งในด้านรูปแบบ แนวคิด เนื้อหาและกลวิธีการแต่ง เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากวรรณกรรมของตะวันตก ดังกล่าวแล้ว.
วิวัฒนาการของวรรณกรรมไทยปัจจุบัน
      เนื่องจากวิวัฒนาการของวรรณกรรมไทยปัจจุบันทั้งรูปแบบ แนวคิด เนื้อหาและกลวิธีการแต่ง มีเงื่อนไขขึ้นอยู่กับความเปลี่ยนแปลงของสังคมด้วย ฉะนั้นเพื่อให้ผู้อ่านมองเห็นความคลี่คลายขยายตัวของวรรณกรรมปัจจุบันของไทยได้ชัดเจน ผู้เขียนจึงบางวรรณกรรมไทยปัจจุบันตามช่วงเวลาการเปลี่ยนแปลงของสังคมดังนี้

ยุคเริ่มแรก ที่มาของวรรณกรรมแปลและแปลง (พ.ศ. ๒๔๔๓ ๒๔๖๙)
           ช่วงนี้เป็นช่วงปลายรัชกาลที่ 5 ต่อเนื่องกับรัชกาลที่ 6 และช่วงนี้เองที่วงการการเขียนของไทยได้เปลี่ยนแปลงสู่วรรณกรรมไทยปัจจุบันของไทย โดยเปลี่ยนจากการเขียนแนวร้อยกรองมาเป็นร้อยแก้วตามแนวอิทธิพลตะวันตก วรรณกรรมในยุคนี้เป็นวรรณกรรมแปลแลแปลงเป็นส่วนใหญ่ และเกิดนักเขียนแนวใหม่ขึ้นมา นั้นคือ แม่วัน เขียวหวาน กาญจนาคพันธ์ หลวงสารานุประพันธ์ นอกจากนั้นช่วงนี้ยังเป็นยุคเริ่มของแนวการเขียนนวนิยาย และเรื่องสั้นอีกด้วย

ยุครุ่งอรุณ ที่มาของวรรณกรรมไทยแนวจินตนิยม (พ.ศ. ๒๔๗๐ ๒๔๗๕)
          ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งบ้านเมืองเราได้รับผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจนักข่าว นักหนังพิมพ์ จึงนำเสนอการแก้ปัญหาโดยการเก็บภาษี และช่วงนี้เองที่หนังสือพิมพ์มีบทบาทในการให้การศึกษาและแนะแนวด้านการปกครอง ด้วยการนำเสนอบทความวิพากษ์วิจารณ์สภาพบ้านเมืองและแนะนำระบอบการปกครองแบบใหม่ คือการปกครองแบบประชาธิปไตย  ขณะเดียวกันเป็นช่วงที่คณะราษฎร์เริ่มขบวนการด้วย
         วรรณกรรมในยุคนี้จึงเริ่มเป็นของคนไทยมากขึ้น วรรณกรรมแปลและแปลงน้อยลง หนุ่มสาวหันมาสนใจงานเขียนมากขึ้น กล้าแสดงความคิดเห็นมากขึ้น นวนิยายและเรื่องสั้นเองที่คนไทยเขียนเองมากขึ้น เกิดนักเขียนใหม่ๆ เช่น ศรีบูรพา ดอกไม้สด หม่อมเจ้า อากาศดำเกิง รพีพัฒน์ ครูเทพ แม่อนงค์ ฯลฯ

ยุครัฐนิยม ที่มาของวรรณกรรมแนวก้าวหน้า (พ.ศ. ๒๔๗๖ ๒๔๘๘) 
           หลังการเปลี่ยนการปกครองจากระบบการปกครองสมบูรณาญาสิทธิราช สู่ประชาธิปไตย มีผลทำให้สังคมเปลี่ยนไปจากเดิม ชนชั้นกลางมีอำนาจควบคุมเศรษฐกิจ ทำให้วงวรรณกรรมไทยมีการเปลี่ยนแปลงหลายประการประการแรกนักเขียนต้องหาเลี้ยงชีพด้วยตนเอง ขาดผู้อุประ   ประการที่สองคือขบวนการของคณะราษฎร์ที่มุ่งเน้นความเสมอภาคทำให้ผู้มีจิตสำนึกหันมาสนใจปัญหาความยุติธรรมมากขึ้น ยุคนี้จึงเป็นถือเป็นยุคเริ่มต้นของการแสดงความสำนึกทางมนุษยธรรม อันเป็นลักษณะเด่นของวรรณกรรมแนวก้าวหน้า และช่วงนี้นวนิยายได้ให้ความสนใจแก่ชนชั้นระดับล่างมากขึ้น โดยเน้นความยากลำบากของคนในสังคม การเขียนถึงการเมืองในเชิงอุดมคติ
            ต่อมาในช่วงของจอมพลป.พิบูลสงคราม ระบบเผด็จการ รัฐออกพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ.2484 ซึ่งมีผลในการลิดรอนเสรีภาพของนักเขียน  รัฐเข้าควบคุมโดยการแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมวัฒนธรรมและภาษาไทย จัดตั้งวรรณคดีสมาคม เพื่อออกวรรณคดีสาร วางหลักเกณฑ์การเขียนหนังสือไทยใหม่ ปรับปรุงตัวอักษรไทยให้มีเพียง 31 ตัว ให้งดใช้สระและพยัญชนะที่มีเสียงซ้ำกัน กำหนดให้เขียนหนังสือไทยด้วยคำไทยแท้ เช่น"ประธานกรรมการ" เป็น "ประทานกัมกาน" ให้ใช้คำแทนชื่อที่เป็นเอกพจน์ว่า ฉัน ท่าน เขา มัน คำที่เป็นพหูพจน์ให้ใช้คำว่าท่านทั้งหลาย เขาทั้งหลาย พวกมัน คำปฏิเสธใช้คำว่า ไม่ คำรับให้ใช้คำว่า จ๊ะ นอกจากนั้นนวนิยายเรื่องสั้นห้ามกล่าถึงพฤติการณ์ของผู้ชายที่มีเมียแล้วไปยุ่งเกี่ยวกับหญิงอื่นในทางชู้สาวไม่ได้  การกระทำทั้งหลายนี้ทำให้วงการประพันธ์ และหนังสือพิมพ์ไทยเกิดความปั่นป่วนอย่างยิ่ง เพราะนอกจากนักเขียนได้รับความลำบากแล้วนักเขียนยังถือว่าเป็นการกระทำที่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของความคิดและศิลปะการประพันธ์ด้วย ทำให้นักเขียนหลายคนเลิกจากอาชีพนักเขียน ในขณะเดียวกันก็เกิดนวนิยายทีมีลักษณะยั่วล้อทางการเมืองสมัยรัฐนิยมขึ้น
            ในขณะเดียวกันเป็นยุคของสงครามโลกครั้งที่สองซึ่งเผชิญกับปัญหาความอดอยาก กระดาษราคาแพงหนังสือขึ้นราคา  หนังสือพิมพ์บางเล่มจึงต้องปิดตัวลง แต่วรรณคดีสารยังออกมาอย่างสม่ำเสมอ ด้วยเหตุนี้บทร้อยกรองส่วนใหญ่ในสมัยนี้จึงเป็นไปเพื่อส่งเสริมความมั่นคงของนโยบายรัฐเท่านั้น

ยุคกบฏสันติภาพ ที่มาของวรรณกรรมแนวเพื่อชีวิต (พ.ศ. ๒๔๘๙ ๒๕๐๐) 
              หลังการทำรัฐประหารของจอมพลป. พิบูลสงครามปี 2490 รัฐธรรมนูญฉบับนี้จำกัดเสรีภาพให้แคบลงกว่าเดิมโดยเฉพาะเสรีภาพด้านการพูด การเขียน และการพิมพ์ นอกจากนี้ ขณะเดียวกันเมื่อปี 2495 เป็นช่วงเวลาที่นักเขียนนักหนังสือพิมพ์ ปัญญาชน และชาวบ้านได้ร่วมใจกันนำเสื้อผ้า ยา และข้าวของที่ประชาชนร่วมกันบริจาคไปมอบให้แก่ชาวอีสานที่ประสบภัยพิบัติ  และเกิดการรวมกลุ่มนักหนังสือพิมพ์เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกระบบเซ็นเซอร์และพระราชบัญญัติการพิมพ์ ปี พ.ศ.2548 ของกลุ่มนักเขียนต่างๆ ทำให้นักเขียนและนักหนังสือพิมพ์หลายคนถูกจับกุมเข้าคุก กุหลาบ สายประดิษฐ์เป็นหนึ่งในนั้น แต่ในขณะที่เข้าคุกเขาได้เขียนนวนิยายที่สะท้อนปัญหาสังคมได้อย่างชัดเจนมีลักษณะเพื่อชีวิต ขณะเดียวกันวรรณกรรมในยุคนี้มีแนวโน้มไปในทางวรรณกรรมเพื่อชีวิต
               การเปลี่ยนแปลงทางวรรณกรรมที่เห็นได้ชัดในช่วงนี้คือ แนวคิดเกี่ยวกับ "ศิลปะเพื่อชีวิต" ในปี พ.ศ. 2493เกิดชมรมนักประพันธ์และวงการวิจารณ์ นอกจากการจัดตั้งชมชมนักประพันธ์จำทำให้นักเขียนรับผิดชอบต่อผลงานเขียนมากขึ้นแล้วยังทำให้ นกเขียนหลายคนหันมาสร้างวรรณกรรมเพื่อชีวิต

ยุคสมัยแห่งความเงียบ ที่มาของวรรณกรรมน้ำเน่า (พ.ศ. ๒๕๐๑ ๒๕๐๖) 
               ยุคหลังการปฎิวัติของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในปี 2501 มีผลทำรับบาลใช้มาตรการรุนแรงปราบปรามผู้ที่มีความคิดเห็นขัดแย้งกับรัฐบาลได้อย่างเด็ดขาดแล้วยังมีผลต่อวรรณกรรมการเมืองอีกด้วย โดยเฉพาะนักเขียนกลุ่มก้าวหน้า หรือกลุ่มศิลปะเพื่อชีวิตที่เริ่มสร้างแนวทางใหม่ๆ  นอกจากเสรีภาพของนักเขียนถูกคุกคามแล้วเสรีภาพของหนังสือพิมพ์ยังถูกบั่นทอนอีกด้วย  ด้วยเหตุนี้นักเขียนนักหนังสือพิมพ์จึงพยายามระมัดระวังมิให้ข้อเขียนกระทบกระเทือนต่อรัฐบาล เพราะเป็นการเสี่ยงต่อการถูกปิด นักเขียนหลายท่านกล่าวว่ายุคนี้เป็นยุคมืดทางปัญญา หรือเป็นยุคสมัยความเงียบ ในขณะที่วรรณกรรมเพื่อชีวิตต้องชะงักไป วรรณกรรมแนวเพื่อศิลปะก็กลับรุ่งเรืองขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเภทบันเทิงคดีแนวพาฝัน

ยุคฉันจึงมาหาความหมาย ที่มาของวรรณกรรมคนหนุ่มสาว (พ.ศ. ๒๕๐๗ ๒๕๑๕)
                ยุคนี้เป็นยุคที่ประชาชนนักศึกษาได้รับความกดดันจากระบบเผด็จของชนชั้นปกครองที่สืบเนื่องมาเป็นเวลานาน แม้เสรีภาพจะมีไม่มาก ขณะเดียวกันนักศึกษากลุ่มหนึ่งเกิดความขัดแย้งทางความคิด พร้อมกันนั้นก็เกิดความกล้าที่จะขจัดความเลวร้ายดังกล่าวให้หมดสิ้นไป ด้วยเหตุนี้วิธีหนึ่งที่นิสิตนักศึกษาสามารถใช้งานได้คือวรรณกรรม แต่งานเขียนของนักศึกษาไม่ถูกสนใจจึงรวมกลุ่มกันทำขายกันในมหาวิทยาลัย ปี พ.ศ.2506มหาวิทยาลัยต่างๆรวมกลุ่มกันทำหนังสือ เจ็ดสถาบัน ตีพิมพ์เรื่องสั้นที่มีเนื้อหาวิจารณ์สังคม จากนั้นเกิดนักเขียนหน้าใหม่ขึ้น ยุคนี้จึงเป็นยุคของคนรุ่นใหม่ที่เป็นคนหนุ่มสาวอย่างแท้จริง  ต่อมามีอิทธิพลและบทบาทสำคัญในการปลุกสำนึกและรวมพลังทางการเมืองให้แก่ขบวนการ 14 ตุลาคม พ.ศ.2516 


ยุคประชาธิปไตยเบ่งบาน ที่มาของวรรณกรรมเพื่อประชาชน (พ.ศ. ๒๕๑๖ ปัจจุบัน)
               หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 เป็นยุคที่เรียกว่า ประชาธิปไตย เบ่งบาน งานสร้างสรรค์ในแนวทางเพื่อชีวิตได้รับความสนใจจากผู้อ่านเป็นอย่างกว้างขวาง ทั้งงานเขียนเก่า และงานเขียนใหม่ ในระยะเวลาต่อมาประเทศชาติมีกรเปลี่ยนแปลงคณะบริหารประเทศถึง 3 ชุดแต่วรรณกรรมก็ยงคงมีบรรยากาศที่ราบรื่นเหมือนเดิมความก้าวหน้าทั้งทางรูปแบบและเนื้อหาของวรรณกรรมในยุคนี้จะเห็นได้ชัดในงานเขียนประเภทเรื่องสั้น ทั้งนี้คงเป็นเพราะ เรื่องสั้นสามารถนำเสนอแนวคิดได้กะทัดรัดและกระจ่าชัด ตรงเป้าหมายสมบูรณ์กว่าเรื่องยาว


ที่มา .learners.in.th/blogs/posts/45500 และ sites.google.com



1 ความคิดเห็น:

  1. กระผมอยากรู้เรื่องสิ่งที่มันเกิดขึ้นกับตัวผมขนาดนี้ว่ามันคืออะไรกระผมอยากให้พวกท่านมาพิสูจน์ดูว่าจริงแท้หรือไม่ตัวหนังสือที่กระผมเขียนไปนั้นมีจริงหรือไม่เรื่องราวสมัยก่อนนั้นเป็นจริงหรือไม่สิ่งที่มันเกิดขึ้นกับตัวกระผมนั้นข้าพเจ้าไม่รู้ตัวตนจริงๆ

    ตอบลบ