ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของฉัน

วันพุธที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2555

หนังสือวรรณกรรมสำหรับเด็ก

แนะนำหนังสือน่าอ่านจากงานนานมีบุ๊คส์อะวอร์ค ครั้งที่ 5
ผลงานที่ได้รับรางวัลประเภทเรื่องสั้นสร้างแรงบันดาลใจ



ผลงานที่ได้รับรางวัลประเภทหนังสือภาพส่งเสริมความรู้

วันพุธที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2555

หนังสือวรรณกรรมสำหรับเด็ก



เขียนโดย ระพีพรรณ พัฒนาเวช
  • ครูชีวัน  วิสาสะ ให้ทัศนะเกี่ยวกับหนังสือคลาสสิคสำหรับเด็กว่าเป็นหนังสือที่อาจจะเรียกได้ว่าไร้กาลเวลา คือ มีทั้งรูปแบบ เนื้อหา การจัดวางองค์ประกอบทั้งหมดรวมกัน โดยที่กาลเวลาไม่อาจทำให้เสียคุณค่าไม่ว่าจะห้าสิบ หกสิบหรือแปดสิบปีผ่านไป ก็ยังคงดูดีและมีคุณค่าอยู่เสมอ เป็นหนังสือเด็กประเภทที่เรียกว่าคลาสสิคมักจะเป็นหนังสือที่พูดถึงสิ่ง (ความรู้สึก) ที่สำคัญในชีวิตและเรื่องราวเหล่านั้นจะติดอยู่กับตัวเด็กตลอดไป ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานสักแค่ไหนมันไม่ใช่แค่เรื่องของเด็กๆ แต่มันเป็นเรื่องใหญ่และสำคัญในชีวิต
  • CarrotSeed1.gif
  • สำหรับหนังสือคลาสสิคที่เด็กไทยนำมากล่าวถึงในที่นี้ คือ หนังสือภาพสำหรับเด็กระดับคลาสสิคของโลกที่เคยได้รับการแปและตีพิมพ์เป็นภาษาไทย โดยได้รับลิขสิทธิ์ถูกต้องตามกฏหมายจนกระทั่งเกิดขึ้นเป็นข้อมูลความรู้ทางวิชาการอีกทอดหนึ่ง
  • “เขามีกลวิธีการสอนเรื่องธรรมชาติวิทยาได้อย่างน่าทึ่ง เอาความสนุกนำความรู้สามารถสร้างความประทับใจให้แก่คนอ่านได้ก่อนแล้วความรู้ที่ตั้งใจมันก็จะติดตัวไปโดยปริยาย การที่หนังสืือเล่มนี้สร้างขึ้นจากข้อมูลจริงแต่เล่าเรื่องได้อย่างน่ามหัศจรรย์ มันจึงไม่มียุคสมัยดูเมื่อไหร่ก็เข้าใจ พ่อแม่ก็ชอบใจ เด็กๆ ยิ่งสนุก นอกจากนี้เขามีแง่มุมที่ลึกในการนำเสนอมีลักษณะเฉพาะของตัวเจ้าของงานเป็น FINE ART เป็นงานศิลปะชั้นสูงที่เข้าถึงเด็กได้ภาพดูเหมือนง่่ายๆ เด็กๆ ทำได้ แต่ความจริงแล้วมันมีกระบวนการที่ซับซ้อนทางศิลปะ ไม่ว่าจะกี่ยุค กี่สมัยก็ยังได้รับความสนใจอยู่เพราะมันคลาสสิคจริงๆ ซึ่งอาจจะต่างจาก ดินแดนแห่งเจ้าตัวร้าย (WHERE THE WILD THINGS ARE) เล่มนั้นเขานานกว่าและอยู่ในประวัติศาสตร์การวิจารณ์หนังสือภาพสำหรับเด็กไปแล้ว”
  • ในวันนี้ เป็นที่น่ายินดีและน่าชื่นใจอยากยิ่งที่สังคมไทย มีหนังสือคลาสสิคระดับโลก พร้อมันถึงห้าเล่ม โดยได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิซิเมนต์ไทยได้แก่เรื่อง
  • แมวล้านตัว แปลโดย ชีวัน วิสาสะ จากเรื่อง Millions of Cats ของ Wanda Ga’g แปลโดย อริยา ไพฑูรย์ จากเรื่อง In the Forest ของ Marie Hall Ets คอร์ดูรอย แปลโดย อัจฉรา  ประดิษฐ์ จากเรื่อง Corduyoy ของ Don Freeman มีหมวกมาขายจ้า แปลโดย ดร.ชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ จากเรื่อง Caps for Sale ของ Esphyr Slobodkina และเรื่อง เมล็ดแครอท แปลโดย งามพรรณ เวชชาชีวะ จากเรื่อง The Carrot Seed ของ Ruth Krauss และ Crockett Johnson
  • ส่วนเล่มที่อายุน้อยลงมา คือ มีหมวกมาขายจ้า มีอายุจนถึงวันนี้ก็ ๗๐ ปีพอดีและยังคงขายดีอยู่ (ในต่างประเทศ) เป็นนิทานพื้นบ้านของประเทศอินเดีย เรื่องของพ่อค้าซึ่งเดินขายหมวแต่วิธีที่เขานำของไปขายนั้นแตกต่างจากพ่อค้าคนอื่น แทนที่จะหิ้วหรือถือไปเขากลับซ้อนหมวกเรียงสูงขึ้นไปบนหัว เดินตัวตั้งตรง ปากตะโกนร้องขายหมวกไปตามถนน ขอไม่เล่ารายละเอียดของเรื่องในที่นี้
  • ข้อมูลจาก สมาาคมไทสร้างสรรค์
  • ครูชีวัน  วิสาสะ ให้ทัศนะเกี่ยวกับหนังสือคลาสสิคสำหรับเด็กว่าเป็นหนังสือที่อาจจะเรียกได้ว่าไร้กาลเวลา คือ มีทั้งรูปแบบ เนื้อหา การจัดวางองค์ประกอบทั้งหมดรวมกัน โดยที่กาลเวลาไม่อาจทำให้เสียคุณค่าไม่ว่าจะห้าสิบ หกสิบหรือแปดสิบปีผ่านไป ก็ยังคงดูดีและมีคุณค่าอยู่เสมอ เป็นหนังสือเด็กประเภทที่เรียกว่าคลาสสิคมักจะเป็นหนังสือที่พูดถึงสิ่ง (ความรู้สึก) ที่สำคัญในชีวิตและเรื่องราวเหล่านั้นจะติดอยู่กับตัวเด็กตลอดไป ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานสักแค่ไหนมันไม่ใช่แค่เรื่องของเด็กๆ แต่มันเป็นเรื่องใหญ่และสำคัญในชีวิต
  • CarrotSeed1.gif
  • สำหรับหนังสือคลาสสิคที่เด็กไทยนำมากล่าวถึงในที่นี้ คือ หนังสือภาพสำหรับเด็กระดับคลาสสิคของโลกที่เคยได้รับการแปและตีพิมพ์เป็นภาษาไทย โดยได้รับลิขสิทธิ์ถูกต้องตามกฏหมายจนกระทั่งเกิดขึ้นเป็นข้อมูลความรู้ทางวิชาการอีกทอดหนึ่ง
  • “เขามีกลวิธีการสอนเรื่องธรรมชาติวิทยาได้อย่างน่าทึ่ง เอาความสนุกนำความรู้สามารถสร้างความประทับใจให้แก่คนอ่านได้ก่อนแล้วความรู้ที่ตั้งใจมันก็จะติดตัวไปโดยปริยาย การที่หนังสืือเล่มนี้สร้างขึ้นจากข้อมูลจริงแต่เล่าเรื่องได้อย่างน่ามหัศจรรย์ มันจึงไม่มียุคสมัยดูเมื่อไหร่ก็เข้าใจ พ่อแม่ก็ชอบใจ เด็กๆ ยิ่งสนุก นอกจากนี้เขามีแง่มุมที่ลึกในการนำเสนอมีลักษณะเฉพาะของตัวเจ้าของงานเป็น FINE ART เป็นงานศิลปะชั้นสูงที่เข้าถึงเด็กได้ภาพดูเหมือนง่่ายๆ เด็กๆ ทำได้ แต่ความจริงแล้วมันมีกระบวนการที่ซับซ้อนทางศิลปะ ไม่ว่าจะกี่ยุค กี่สมัยก็ยังได้รับความสนใจอยู่เพราะมันคลาสสิคจริงๆ ซึ่งอาจจะต่างจาก ดินแดนแห่งเจ้าตัวร้าย (WHERE THE WILD THINGS ARE) เล่มนั้นเขานานกว่าและอยู่ในประวัติศาสตร์การวิจารณ์หนังสือภาพสำหรับเด็กไปแล้ว”
  • ในวันนี้ เป็นที่น่ายินดีและน่าชื่นใจอยากยิ่งที่สังคมไทย มีหนังสือคลาสสิคระดับโลก พร้อมันถึงห้าเล่ม โดยได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิซิเมนต์ไทยได้แก่เรื่อง
  • แมวล้านตัว แปลโดย ชีวัน วิสาสะ จากเรื่อง Millions of Cats ของ Wanda Ga’g แปลโดย อริยา ไพฑูรย์ จากเรื่อง In the Forest ของ Marie Hall Ets คอร์ดูรอย แปลโดย อัจฉรา  ประดิษฐ์ จากเรื่อง Corduyoy ของ Don Freeman มีหมวกมาขายจ้า แปลโดย ดร.ชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ จากเรื่อง Caps for Sale ของ Esphyr Slobodkina และเรื่อง เมล็ดแครอท แปลโดย งามพรรณ เวชชาชีวะ จากเรื่อง The Carrot Seed ของ Ruth Krauss และ Crockett Johnson
  • ส่วนเล่มที่อายุน้อยลงมา คือ มีหมวกมาขายจ้า มีอายุจนถึงวันนี้ก็ ๗๐ ปีพอดีและยังคงขายดีอยู่ (ในต่างประเทศ) เป็นนิทานพื้นบ้านของประเทศอินเดีย เรื่องของพ่อค้าซึ่งเดินขายหมวแต่วิธีที่เขานำของไปขายนั้นแตกต่างจากพ่อค้าคนอื่น แทนที่จะหิ้วหรือถือไปเขากลับซ้อนหมวกเรียงสูงขึ้นไปบนหัว เดินตัวตั้งตรง ปากตะโกนร้องขายหมวกไปตามถนน ขอไม่เล่ารายละเอียดของเรื่องในที่นี้
  • ข้อมูลจาก สมาาคมไทสร้างสรรค์
  • ในฐานะผู้ผลักดันโครงการ นับแต่ทำงานเรื่องการพัฒนาครอบครัวด้วยการอ่าน สมาคมไทสร้างสรรค์ ยืนยันมาโดยตลอดว่าหนังสือเป็นเครื่องมือสำคัญในการทำงานของเราและเราพยายามเลือกใช้หนังสือที่ดีมาตลอดจนกระทั่งหลายครั้งเกิดคำถามว่า หนังสือดีดูจากอะไรหรือใครเป็นคนตัดสินว่าหนังสือเล่มนี้ดีพอหรือไม่
  • เด็กไทฉบับนี้แม้จะไม่ใช่ฉบับหนังสือดีสำหรับเด็กแต่จะกล่าวถึงหนังสือภาพสำหรับเด็กที่ได้รับการยอมรับจากสถาบันที่เกี่ยวข้องกับหนังสือเด็กทั่วโลกว่าเป็น หนังสือระดับคลาสสิก มีอายุยืนนานและเป็นที่ชื่นชอบของเด็กๆ รุ่นแล้วรุ่นเล่าแบบนี้น่าจะหมายถึงหนังสือที่ดีได้
  • MillionsOfCats.gif
  • ซึ่งหากเปรียบเทียบชีวิตคนกับต้นไม้แล้วการที่เด็กๆ ได้มีโอกาสสัมผัสและซึมซับความงดงามทั้งเรื่องภาพ ภาษาและวิธีคิดจากหนังสือชั้นดี (คลาสสิค) ก็จะเป็นดั่งต้นไม้ที่มีแก่นอันสมบูรณ์เพื่อสร้างเปลือก สร้างใบ ดอกและผลที่งดงาม การที่กล่าวว่าแก่นอันสมบูรณ์นั้น หมายถึง ความคิดที่ลุ่มลึก
  • หากจะมีเรื่องราวสนุกสนานก็สนุกแบบลุ่มลึก หากพิจารณาความงามของภาพก็จะสัมผัสได้ถึงสุนทรียภาพที่สะกดสายตาและชวนให้ ค้นคิดกับภาพมิเบื่อ
  • หากเราต้องการสร้างหรือกล่อมเกลาเด็กให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความลึกซึ้ง ไม่ฉาบฉวยแล้ว...หนังสือคลาสสิคสำหรับเด็กคือสิ่งจำเป็นจริงๆ
  • ความเป็นหนังสือคลาสสิคสำหรับเด็กอาจจะไม่มีสถาบันใดออกมาประกาศรับรองแต่เกิดจากการที่นักวิชาการด้านหนังสือสำหรับเด็ก กล่าวขวัญถึงอย่างกว้างขวางในความดีความงาม การสื่อสารที่ดี ความสนุก สามารถสร้างความประทับใจ โดยมีเนื้อหาที่ดี มีภาษา มีการนำเสนอภาพที่ดีและมีความเหมาะสมลงตัว หนังสือเหล่านี้จะได้รับการพูดถึงต่อเนื่องกันมานาน ตลอดช่วงระยะเวลานับสิบ ๆ ปี นักศึกษาด้านวรรณกรรมสำหรับเด็กทั่วโลกต้องศึกษา วิเคราะห์ ตีความ วิพากษ์ วิจารณ์กันอย่างแพร่หลาย


  • ย้อนกลับไปในปี พ.ศ.๒๕๓๘ หนังสือภาพชื่อ ดินแดนแห่งเจ้าตัวร้าย ได้รับการตีพิมพ์เป็นภาษาไทย ดินแดนแห่งเจ้าตัวร้าย แปลโดย ป่านแก้ว จากเรื่อง Where the Wild things Are โดย Maurice Sendak จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์แพรวเพื่อนเด็ก รศ.เกริก  ยุ้นพันธ์  อาจารย์ประจำสาขาวิชาวรรณกรรมสำหรับเด็ก มศว.ประสานมิตร ได้เปิดโลกของดินแดนแห่งเจ้าตัวร้าย ให้เราได้เห็นกันชัดๆ ว่า
  •  
  • “เรื่องนี้มันเป็นโลกของเด็ก เป็นความมหัศจรรย์ซึ่งนักเขียนมีความเข้าใจเด็ก มันมีความลึกลับมีปีศาจน่าตื่นเต้นเขานำเสนอให้ตัวเอกมีความกล้าหาญ มีความเชื่อมั่นและมีภาวะผู้นำ ไม่หวาดหวั่นต่อสิ่งน่ากลัว สังเกตว่าหนังสือเด็กทุกยุคทุกสมัยต้องมีฮีโร่ เพราะเด็กทุกยุคทุกสมัยต้องการในสิ่งเดียวกัน เรื่องนี้มีเรื่องของความรัก ความอบอุ่นเข้ามาด้วย จึงทำให้เรื่องทั้งสนุก ตื่อเต้น อบอุ่บไปพร้อมๆกัน
  • ในแง่ของความเป็นงานศิลปะ ดินแดนแห่งเจ้าตัวร้ายสร้างขึ้นอย่างพิถีพิถันมาก การจัดวางองค์ประกอบภาพมีความโดดเด่นซึ่งเทคนิคการวาดรูปไม่ได้มีอะไรซับซ้อน แต่เมื่อจัดวางอย่างสมบูรณ์ งานจึงออกมาโดดเด่นมากหรือเรียกว่่า มีจักษุสัมผัสดีมาก ภาพมีพลัง สะท้อนให้เห็นถึงความลึก ความเคลื่อนไหวสมกับเนื้อเรื่องที่มีการเคลื่อนที่ มีการเดินทางของตัวละคร
  • นักเขียนสามารถเขียนภาพให้เห็นตัวละครโดดเด่นชัดเจนและมีพลังเข้ากันกับเรื่องราวไม่สร้างความคลุมเครือมีความชัดเจนในแนวระนาบไม่ปิดไม่บังใด ๆ ทั้งสิ้น คือ ให้เห็นกันจะแม้ในฉากกลางคืน และเกือบอีกสิบปีต่อมาได้ทีการจัดพิมพ์หนังสือคลาสสิคระดับโลกอีกเล่มหนึ่ง คือเรื่อง หนอนจอมหิว แปลโดย อริยา  ไพฑูรย์  จากเรื่อง The Vary Hungry Caterpillar โดย Eric Carlsเป็นหนังสือเด็กที่มีชื่อเสียงและได้รับการตีพิมพ์หลายภาษาทั่วโลก ฉบับภาษาไทยเป็นภาษาที่ ๓๖ ในการพิมพ์ครั้งนั้นและหนอนจอมหิวก็เป็นหนังสือที่ อาจารย์เกริก เลือกให้เป็นหนังสือที่ชอบมากที่สุดในกลุ่มหนังสือภาพสำหรับเด็ก (Picture Book for Children) ซึ่งอาจารย์เกริก ใช้เวลาข้ามคืนเพื่อตัดสินว่าชอบ ดินแดนแห่งเจ้าตัวร้ายหรือหนอนจอมหิวมากกว่ากัน ในที่สุดอาจารย์เกริเลือกหนอนจอมหิว เป็นหนังสือภาพเล่มโปรด
  • InTheForest.gif
  • จากมุมมองและความคิดของทั้ง อาจารย์เกริกและครูชีวัน มีสิ่งร่วมกันที่สำคัญและได้รับการเน้นยำ้มาก คือ ความลุ่มลึกและความลึกซึ้ง
  • นับจากดินแดนแห่งเจ้าตัวร้าย ได้ออกอาละวาดอย่างแผ่วๆ ในเมืองไทย จนกระทั่งมาถึงหนอนจอมหิวและมีหนังสือคลาสสิคของโลกติดตามมาอีกสองเล่ม ได้แก่ บ้านน้อย (Little House)และ แม่ไ่ก่ไปเดินเล่น (Rosie’s Walk) ที่จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์แพรวเพื่อนเด็กเช่นกัน ซึ่งคาดว่ายอดจำหน่ายคงค่อยๆ เป็น ค่อยๆ ไป ต้องอาศัยความเข้าใจ ความเชื่อมั่นในความดีงามของหนังสือเด็กและมีความสำคัญกว่า คือ ความอดทนของผู้ลงทุนในวันหนึ่งข้างหน้า ประเทศไทยจะได้สามารถสร้างหนังสือเด็กในระดับคลาสสิคได้
  • อย่างไรก็ตามอย่างที่ ครูชีวัน ให้ความเห็นตอนต้นว่า ถ้าต้องการสร้างผู้ใหญ่ที่มีความลุ่มลึก หนังสือเด็กคลาสสิคหรือหนังสือที่ดีมีความจำเป็น
  •  
  • หนังสือภาพทั้ง ๕ เล่มได้รับการยกย่องและกล่าวถึงเสมอมาในแง่ของความลึกซึ้ง ความงามทางศิลปะ การสร้างความประทับใจให้มุมมองและแง่คิดต่อชีวิต จากนักศึกษาด้านวรรณกรรมสำหรับเด็กทั่วโลกและโปรดสังเกตว่า เด็กไท ฉบับบนี้มีการเขียนถึง เรื่องแมวล้านตัว เป็นครั้งที่สองแล้วเพื่อพิสูจน์ถึงความคลาสสิคของแท้ถึงจะไม่กล่าวถึงแมวล้านตัวในพื้นที่นี้
  • เมื่อไล่เรียงลำดับอายุหนังสือทั้ง ๕ เล่ม ต้องยกให้แมวล้านตัวอายุมากที่สุด คือ ๘๐ ปีและปัจจุบันก็ยังตีพิมพ์และมีจำหน่ายอยู่ นับว่าเป็นหนังสือภาพสำหรับเด็กที่อายุยืนนานที่สุดของ อเมริกา
  • kSWYX12415961531.jpg
  • ความที่นักวาดภาพเป็นศิลปินนักออกแบบและเป็นนักวาดภาพประกอบหนังสือเด็กคู่บุญของ Margaret Wise Brown นักเขียนหนังสือเด็กผู้มีชื่อเสียงเมื่อ Brown เสียชีวิตลง Slobdkina จึงลงมือวาดภาพประกอบหนังสือของตัวเองและเล่มนี้ก็ทำให้เธอมีชื่อเสียงโด่งดังในฐานะนักเขียนหนังสือเด็กที่มีผล งานโดดเด่น เข้าถึงเด็กด้วยภาพที่มีอารมณ์สนุกเข้ากันกับเรื่อง นักเขียนใช้ประโยชน์จากการเป็นนักออกแบบ โดยใช้เทคนิคในการออกแบบภาพให้ดูมีมิติ มีความลึก ขณะเดียวกันรูปภาพที่สื่อออกมามีลักษณะใกล้เคียงกับเด็กวาด ประกอบกับเรื่องที่ถูกใจเด็ก มีปมปัญหา มีทางออกสำหรับปัญหา และสร้างความประทับใจในตอนท้าย มีหมวกมาขายจ้า จึงเป็นหนังสือเด็กเล่มหนึ่งที่ได้รับการยกย่องเสมอตลอดเวลา ๗๐ ปี นับแต่การพิมพ์ครั้งแรก
  • หนังสือภาพคลาสสิคอีกเล่มหนึ่งที่มีอายุเกินครึ่ง ศตวรรษ คือเรื่อง เดินเล่นในป่า ชึ่งมีอายุ ๖๔ ปี ในวันนี้ที่ฉายภาพจินตนาการของเด็กได้อย่างหนักแน่นและชัดเจน จินตนาการมีความจำเป็นอย่างยิ่ง อริยา ไพฑูรย์ ผู้แปลได้เขียนไว้ในบทนำว่า เด็กๆ มีโลกจินตนาการของตัวเองเป็นโลกส่วนตัวที่บางครั้งผู้ใหญ่ก็เข้าไปไม่ถึง แต่จะเข้าถึงหรือไม่ก็ไม่สำคัญความเข้าใจต่างหากที่จะนำเด็กเข้ามาสู่โลกแห่งความจริงได้ เพราะเด็กรู้ว่าเขาจะเข้าไปในโลกจินตนาการของตัวเองเมื่อไหร่ก็ได้ จะออกมาเมื่อไรก็ได้และทั้งสองโลกต่างมีคุณค่าสำคัญต่อชีวิตของคนเราเท่าเทียมกัน
  • The Carrot Seed หรือ เมล็ดเครอท มีความเก่าแก่รองลงมาคือ ๖๓ ปี เป็นหนังสือเล่มเล็กๆ เล่าเรื่องง่ายๆ ใช้คำเพียง ๑๐๑ คำ แต่มีความลึกซึ้งยิ่ง เนื้อหาของเรื่องทำให้เด็กๆ เข้าใจคำว่า “อดทน รอได้” เป็นอย่างดี Maurice Sandak เจ้าของเรื่อง ดินแดนแห่งเจ้าตัวร้าย ยกย่องหนังสือเล่มนี้เอาไว้ว่า “หนังสือภาพเล่มนี้สมบูรณ์แบบจนเรียกว่า เป็นบรรพบุรุษของหนังสือภาพทุกเล่มในสหรัฐอเมริกาก็ว่าได้ มันคือการปฏิวัติเล็กๆ ของหนังสือเล่มหนึ่ง ที่ปรับเปลี่ยนรูปลักษณ์การพิมพ์หนังสือภาพสำหรับเด็กไปตลอดกาล  The Carrot Seed นำเสนอทุกอย่างอย่างชัดเจน กระชับ แม่นยำในทุกรายละเอียดทรงพลัง ไร้ที่ตำหนิ ไม่มีสักจุดเดียวที่ภาพหรือคำพูดอยู่ผิดที่ทางแม้แต่จุดเดียวหรือมีอยู่อย่างไร้ความหมาราวกับว่ามันกระโดดออกมาจากโลกของเด็กจริงๆ...ออกมาสดๆ ร้อนๆ เลยทีเดียว” (ธีรวงศ์  ธนิษฐ์เวธน์ - แปล)เป็นที่น่าสังเกตว่าในหนังสือที่เขียนถึงจินตนาการของเด็กตัวละครนั้นผู้ใหญ่มักจะมาตอนจบ อันหมายถึงการนำเด็กกลับคืนสู่โลกแห่งความเป็นจริง บางครั้งไม่มีภาพให้เห็นแต่จะมีสัญลักษณ์บางอย่างที่บ่งบอกว่าผู้ใหญ่มาแล้ว (ถ้วยอาหารดินแดนแห่งเจ้าตัวร้ายหรือส่งเสียงแม่เรียกในเรื่อง อาบน้ำสนุกจัง) และในหนังสือเด็กนั้นเมื่อตัวละครก้าวสู่โลกแห่งจินตนาการในเรื่องแล้ว ต้องไม่ปล่อยเด็กทิ้งไว้อย่างนั้น นักเขียนจะต้องพาเด็กๆ กลับสู่โลกแห่งความจริง โลกในปัญจุบันให้ได้...อย่างแนบเนียนที่สุด
  • spd_2011101451126_b.jpgสำหรับตุ๊กตาหมีตัวเล็กๆ ที่ชื่อ คอร์ดูรอย เป็นหนังสือที่อายุน้อยที่สุดในชุดนี้ คือ ๕๐ ปี เนื้อหาของ คอร์ดูรอย มีความเป็นคลาสสิคอยู่ในตัวเอง นักเขียนเข้าใจจิตใจของเด็กได้อย่างลึกซึ้ง รู้ว่าเด็กในโลกนี้ต่างต้องการบ้านที่อบอุ่น ต้องการคนที่จะมารักและดูแล ต้องการสัมผัสโอบกอด ซึ่งในเรื่องนี้ทั้งลิซ่าและตุ๊กตาหมีต่างมีความเข้าใจกันและกัน และต่างฝ่ายก็ต่างต้องการกันและกัน ตอนจบของเรื่องจึงมีภาพที่ดูอบอุ่นน่ารักและน่าประทับใจที่สุด
  • สำหรับภาพประกอบในเล่มนี้ ที่มองผ่านๆ เหมือนกับการวาดภาพสีนำ้วาดเส้นด้วยสีหมึกอย่างทั่วไปแต่แท้ที่จริง คือ ภาพพิมพ์ที่ใช้เทคนิคการแกะไม้ (Wood Cut) ก่อนลงสีน้ำอีกครั้งหนึ่ง ซึ่ง เล่มนี้ได้รับการกล่าวถึงอย่างชื่นชมว่าเป็นงานแกะไม้ที่สวยงาม สามารถสร้างสรรค์ที่ตัวละครได้อย่างอ่อนช้อยซึ่งเทคนิคนี้ทำได้ยากยิ่งแต่ ดอน ฟรีแมน  สามารถทำให้ใบหน้าของ ตุ๊กตาหมีคอร์ดูรอยและมนุษย์ทุกคนในเรื่อง ดูเกลี้ยงกลม มีอารมย์ความรู้สึกและมีชีวิตชีวาที่สุดในบรรดาหนังสือเด็กที่ใช้เทคนิคนี้  ก่อนจบ...ผุ้เขียนในฐานะที่ทำงานด้านหนังสือและเข้าขั้นหลงไหล ขอขอบคุณมูลนิธิซีเมนต์ไทยอย่างจริงใจ ที่เปิดโอกาสให้ได้จัดการทำงาน หนังสือคลาสสิคของโลกชุดนี้ ทั้งนี้เพื่อ “นำหนังสือดีสู่เด็กไทย” และเพื่อจุดประกายสร้างแรงบรรดาลใจให้แก่นักเขียนหนังสือเด็กของเมืองไทยต่อไป


ข้อมูลจาก สมาคมไทสร้างสรรค์

ตัวอย่างวรรณกรรมสำหรับเด็ก



วรรณกรรมสำหรับเด็ก


ความรู้เกี่ยวกับวรรณกรรม

ความหมายของวรรณกรรมสำหรับเด็ก

                วรรณกรรมสำหรับเด็กเป็น หนังสือที่เขียนขึ้นเพื่อให้เด็กอ่าน หรือฟังอย่างเหมาะสมกับวัยของเด็ก โดยเนื้อหาสาระสอดคล้องกับความสนใจของเด็ก มีรูปเล่มสวยงามสะดุดตา และสามารถเลือกอ่านได้ด้วยความสนุกสนานเพลิดเพลิน
        วัตถุประสงค์ในการสร้างวรรณกรรมสำหรับเด็ก
               1. เพื่อปลูกฝังทัศนคติ ค่านิยมและวัฒนธรรมอันดีงาม
               2. เพื่อช่วยกระตุ้นให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการและเชาวน์ปัญญา
               3. เพื่อให้เด็กได้รับความบันเทิงใจ ความเพลิดเพลิน และความสนุกสนาน มีสุขภาพจิตที่ดี
               4. เพื่อช่วยให้เกิดความพร้อมในการอ่าน
               5. เพื่อสร้างทักษะในการอ่าน และเป็นสื่อนำไปสู่การแสวงหาความรู้และประสบการณ์ด้านต่าง ๆ
               6. เพื่อสร้างลักษณะนิสัยอันดีงาม รวมทั้งลักษณะนิสัยในการอ่าน รักการอ่านและอ่านหนังสือเป็น ตระหนักในคุณค่าของหนังสือ
               7. เพื่อให้เด็กได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ อันเป็นหนทางเพื่อดับความฟุ้งซ่านยับยั้งนิสัยมั่วสุม เที่ยวเตร่ ประพฤติตนนอกลู่นอกทางโดยเปล่าประโยชน์
               8. เพื่อช่วยให้ชีวิตของเด็กเกิดโลกทรรศน์ มีความรอบรู้กว้างไหล ทันโลก ทันเหตุการณ์
               9. เพื่อถ่ายทอดมรดกวัฒนธรรม และสร้างศรัทธาในเอกลักษณ์ของไทย อันเป็นผลดีแก่การสร้างความมั่นคงของชาติบ้านเมือง
             10. เพื่อให้เห็นคุณค่าของความเป็นชาติไทย คนไทย และสถาบันของชาติ

คุณค่าของวรรณกรรมสำหรับเด็ก         มีผู้แสดงทัศนะเกี่ยวกับคุณค่าของหนังสือสำหรับเด็กไว้หลายท่านด้วยกัน ซึ่งสรุปรวมกันได้ดังนี้
               1. ช่วยให้เด็กเกิดความพร้อม ความคล่องแคล่ว และเสริมสร้างให้รักการอ่านใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
               2. ช่วยเสริมทักษะและเสริมสร้างบุคลิกลักษณะนิสัย ค่านิยม ทัศนคติ คุณธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรมอันดีงาม ซึ่งเป็นสื่อนำไปสู่การแสวงหาความรู้และประสบการณ์
ต่าง ๆ
               3. ช่วยให้เด็กได้รับความบันเทิงและตอบสนองความสนใจของเด็กด้วยการอ่าน
               4. ช่วยให้เด็กเข้าใจตัวเอง และผู้อื่น รวมถึงสิ่งที่ผ่านมาในอดีต ข่าวสารความรู้ ความคิด และคำอธิบายเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ที่ถูกต้อง อันจะทำให้เกิดโลกทรรศน์กว้างไกล มีความรอบรู้ ทันโลก ทันเหตุการณ์
               5. ช่วยลับสมองและส่งเสริมเชาวน์ปัญญาให้กับเด็ก
               6. ช่วยเสริมสร้างให้เด็กมีความรู้สึกมั่นคงในชีวิต มีความหวังในชีวิต มองเห็นทางออกของปัญญา
               7. ถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรม สร้างศรัทธาในเอกลักษณ์ของชาติให้แก่เด็กซึ่งจะทำให้เด็กเห็นคุณค่าของความเป็นชาติและสถาบันที่สำคัญของชาติ
               8. เป็นแหล่งบันดาลใจให้เด็กเกิดจินตนาการและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

ประเภทวรรณกรรมสำหรับเด็ก
         1. การแบ่งประเภทมีลักษณะการถ่ายทอด 2 ประเภท คือ
               1.1 วรรณกรรมสำหรับเด็กมุขปาฐะ ได้แก่ วรรณกรรมสำหรับเด็กที่ถ่ายทอดกันมา
ด้วยวิธีการบอกเล่า การขับร้อง และการเล่น สืบต่อกันมา วรรณกรรมสำหรับเด็กประเภทนี้ ได้แก่ ปริศนาคำทาย เพลงกล่อมเด็ก บทเล่นเด็ก และนิทานพื้นบ้าน
               1.2 วรรณกรรมสำหรับเด็กลายลักษณ์ ได้แก่วรรณกรรมสำหรับเด็กที่ถ่ายทอดด้วย
การเขียน การพิมพ์ การจารึก และการจาร ไม่ว่าจะกระทำลงบนวัสดุประเภทใด เช่นแผ่นดินเหนียว แผ่นหนัง หิน ใบไม้ เยื่อไม้ กระดาษ ฯลฯ จัดเป็น “วรรณกรรมสำหรับเด็กประเภทลายลักษณ์”
ทั้งสิ้น

         2. การแบ่งประเภทตามลักษณะของคำประพันธ์เป็นหลัก จำแนก ได้ 2 ประเภท
               2.1 ประเภทร้อยกรอง วรรณกรรมสำหรับเด็กที่มีลักษณะบังคับในการแต่งหรือมีการ
กำหนดคณะ เช่น มือของฉัน ของ ฐะปะนีย์ นาครทรรพ ไผ่น้อย ของพูนเพชร บุญประเสริฐ ฯลฯ
               2.2 ประเภทร้อยแก้ว วรรณกรรมสำหรับเด็กที่ไม่มีลักษณะบังคับในการแต่งหรือไม่มี  การกำหนดคณะ เช่น ชีวิตบ้านป่า ของ ประสิทธ์ มุกสิกเกษม จ้าวป่า ของ อำนาจ เย็นสบาย ตุ๊กแกผู้อาภัพ ของ เฉิดฉาย เขมวิชานุรัตน์ ลูกไก่แสนสวย ของสุภา ลือศิริ เป็นต้น

         3. การแบ่งตามลักษณะเนื้อหาเป็นหลัง จำแนกได้ 2 ประเภท คือ
               3.1 ประเภทสารคดี สารคดี คือเรื่องราวที่เขียนขึ้นเพื่อให้ความรู้และข้อเท็จจริงต่าง ๆ
มากกว่าที่จะให้ความบันเทิงแก่เด็ก ตัวอย่างของวรรณกรรมสำหรับเด็กประเภทนี้ เช่น แม่โพสพ ของ ม.ล.เติบ ชุมสาย คู่มือเลี้ยงปลาตู้ ของวิริยะ สิริสิงห์ เป็นต้น
               3.2 ประเภทบันเทิงคดี หมายถึง วรรณกรรมสำหรับเด็กที่แต่งขึ้นเพื่อให้ความ
เพลิดเพลินบันเทิงในแก่เด็กมากกว่าที่จะให้ความรู้ เช่น เอื้องแซะสีทอง ของวิชา พรหมจันทร์ อ้วนอี๊ดผจญภัย ของ เบญจา แสงมะลิ ฯลฯ

         4. การแบ่งตามจุดมุ่งหมายในการแต่ง จำแนกได้เป็น 3 ประเภท
               4.1 ประเภทหนังสือแบบเรียน (Textbook)
               4.2 ประเภทหนังสืออ่านเพิ่มเติม (Complementary Readers)
               4.3 ประเภทส่งเสริมการอ่าน (Suplementry Readers)

         5. การแบ่งประเภท ตามลักษณะรูปเล่มและกำหนดเวลาที่ออกเป็นหลัก จำแนกได้เป็น  ประเภท คือ
                5.1 ประเภทหนังสือพิมพ์ (Newspaper) เป็นสิ่งพิมพ์ที่ใช้กระดาษขนาดใหญ่หลายแผ่นพับได้ ไม่เย็บติดกัน หนังสือพิมพ์สำหรับเด็กที่เป็นภาษาไทยยังไม่มีบริษัทใดจัดทำจำหน่าย มีแต่ทำกันขึ้นภายในโรงเรียนเพื่ออ่านกันเองเท่านั้น
                5.2 ประเภทวารสาร(Periodical)
                5.3 ประเภทหนังสือ (Books)
                     5.3.1 หนังสือภาพ (Picture Books)
                     5.3.2 หนังสือภาพชวนขัน (Comic Books)
                     5.3.3 หนังสือทั่ว ๆ ไป (Books)
                5.4 ประเภทจุลสารหรืออนุสาร (Pamphlets)

          6. การแบ่งประเภทตามอายุเป็นหลัก จำแนกออกได้เป็น 5 ประเภท คือ
                6.1 เด็กอายุ 2 - 3 ปี
                6.2 เด็กอายุ 3 - 6 ปี
                6.3 เด็กอายุ 6 -11 ปี
                6.4 เด็กอายุ 11 - 14 ปี
                6.5 เด็กอายุ 14 - 18 ปี


ที่มาจาก http://nw-kana.exteen.com

          7. การแบ่งประเภท ตามระดับชั้นเรียนเป็นหลัก จำแนกออกได้ 3 ประเภท คือ
                7.1 เด็กระดับชั้นอนุบาล ซึ่งมีอายุระหว่าง 3 – 6 ปี
                7.2 เด็กระดับชั้นประถมศึกษา ซึ่งอายุระหว่าง 7 – 12 ปี
                7.3 เด็กระดับชั้นมัธยมศึกษา ซึ่งมีอายุระหว่าง 13 – 18 ปี

          8. การแบ่งประเภทตามรูปแบบเป็นหลัก จำแนกออกเป็น 7 ประเภท คือ
                8.1 หนังสือภาพ
                8.2 วรรณกรรมพื้นบ้าน
                8.3 นิทานสมัยใหม่
                8.4 ร้อยกรอง
                8.5 บันเทิงคดีร่วมสมัย
                8.6 บันเทิงคดีอิงประวัติศาสตร์

                8.7 ความรู้และประวัติบุคคล

ข้อมูลจาก http://courseware.payap.ac.th/docu/th402/2%20information/b1t1p1.htm