ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของฉัน

วันพุธที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2555

วรรณกรรมสำหรับเด็ก


ความรู้เกี่ยวกับวรรณกรรม

ความหมายของวรรณกรรมสำหรับเด็ก

                วรรณกรรมสำหรับเด็กเป็น หนังสือที่เขียนขึ้นเพื่อให้เด็กอ่าน หรือฟังอย่างเหมาะสมกับวัยของเด็ก โดยเนื้อหาสาระสอดคล้องกับความสนใจของเด็ก มีรูปเล่มสวยงามสะดุดตา และสามารถเลือกอ่านได้ด้วยความสนุกสนานเพลิดเพลิน
        วัตถุประสงค์ในการสร้างวรรณกรรมสำหรับเด็ก
               1. เพื่อปลูกฝังทัศนคติ ค่านิยมและวัฒนธรรมอันดีงาม
               2. เพื่อช่วยกระตุ้นให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการและเชาวน์ปัญญา
               3. เพื่อให้เด็กได้รับความบันเทิงใจ ความเพลิดเพลิน และความสนุกสนาน มีสุขภาพจิตที่ดี
               4. เพื่อช่วยให้เกิดความพร้อมในการอ่าน
               5. เพื่อสร้างทักษะในการอ่าน และเป็นสื่อนำไปสู่การแสวงหาความรู้และประสบการณ์ด้านต่าง ๆ
               6. เพื่อสร้างลักษณะนิสัยอันดีงาม รวมทั้งลักษณะนิสัยในการอ่าน รักการอ่านและอ่านหนังสือเป็น ตระหนักในคุณค่าของหนังสือ
               7. เพื่อให้เด็กได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ อันเป็นหนทางเพื่อดับความฟุ้งซ่านยับยั้งนิสัยมั่วสุม เที่ยวเตร่ ประพฤติตนนอกลู่นอกทางโดยเปล่าประโยชน์
               8. เพื่อช่วยให้ชีวิตของเด็กเกิดโลกทรรศน์ มีความรอบรู้กว้างไหล ทันโลก ทันเหตุการณ์
               9. เพื่อถ่ายทอดมรดกวัฒนธรรม และสร้างศรัทธาในเอกลักษณ์ของไทย อันเป็นผลดีแก่การสร้างความมั่นคงของชาติบ้านเมือง
             10. เพื่อให้เห็นคุณค่าของความเป็นชาติไทย คนไทย และสถาบันของชาติ

คุณค่าของวรรณกรรมสำหรับเด็ก         มีผู้แสดงทัศนะเกี่ยวกับคุณค่าของหนังสือสำหรับเด็กไว้หลายท่านด้วยกัน ซึ่งสรุปรวมกันได้ดังนี้
               1. ช่วยให้เด็กเกิดความพร้อม ความคล่องแคล่ว และเสริมสร้างให้รักการอ่านใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
               2. ช่วยเสริมทักษะและเสริมสร้างบุคลิกลักษณะนิสัย ค่านิยม ทัศนคติ คุณธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรมอันดีงาม ซึ่งเป็นสื่อนำไปสู่การแสวงหาความรู้และประสบการณ์
ต่าง ๆ
               3. ช่วยให้เด็กได้รับความบันเทิงและตอบสนองความสนใจของเด็กด้วยการอ่าน
               4. ช่วยให้เด็กเข้าใจตัวเอง และผู้อื่น รวมถึงสิ่งที่ผ่านมาในอดีต ข่าวสารความรู้ ความคิด และคำอธิบายเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ที่ถูกต้อง อันจะทำให้เกิดโลกทรรศน์กว้างไกล มีความรอบรู้ ทันโลก ทันเหตุการณ์
               5. ช่วยลับสมองและส่งเสริมเชาวน์ปัญญาให้กับเด็ก
               6. ช่วยเสริมสร้างให้เด็กมีความรู้สึกมั่นคงในชีวิต มีความหวังในชีวิต มองเห็นทางออกของปัญญา
               7. ถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรม สร้างศรัทธาในเอกลักษณ์ของชาติให้แก่เด็กซึ่งจะทำให้เด็กเห็นคุณค่าของความเป็นชาติและสถาบันที่สำคัญของชาติ
               8. เป็นแหล่งบันดาลใจให้เด็กเกิดจินตนาการและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

ประเภทวรรณกรรมสำหรับเด็ก
         1. การแบ่งประเภทมีลักษณะการถ่ายทอด 2 ประเภท คือ
               1.1 วรรณกรรมสำหรับเด็กมุขปาฐะ ได้แก่ วรรณกรรมสำหรับเด็กที่ถ่ายทอดกันมา
ด้วยวิธีการบอกเล่า การขับร้อง และการเล่น สืบต่อกันมา วรรณกรรมสำหรับเด็กประเภทนี้ ได้แก่ ปริศนาคำทาย เพลงกล่อมเด็ก บทเล่นเด็ก และนิทานพื้นบ้าน
               1.2 วรรณกรรมสำหรับเด็กลายลักษณ์ ได้แก่วรรณกรรมสำหรับเด็กที่ถ่ายทอดด้วย
การเขียน การพิมพ์ การจารึก และการจาร ไม่ว่าจะกระทำลงบนวัสดุประเภทใด เช่นแผ่นดินเหนียว แผ่นหนัง หิน ใบไม้ เยื่อไม้ กระดาษ ฯลฯ จัดเป็น “วรรณกรรมสำหรับเด็กประเภทลายลักษณ์”
ทั้งสิ้น

         2. การแบ่งประเภทตามลักษณะของคำประพันธ์เป็นหลัก จำแนก ได้ 2 ประเภท
               2.1 ประเภทร้อยกรอง วรรณกรรมสำหรับเด็กที่มีลักษณะบังคับในการแต่งหรือมีการ
กำหนดคณะ เช่น มือของฉัน ของ ฐะปะนีย์ นาครทรรพ ไผ่น้อย ของพูนเพชร บุญประเสริฐ ฯลฯ
               2.2 ประเภทร้อยแก้ว วรรณกรรมสำหรับเด็กที่ไม่มีลักษณะบังคับในการแต่งหรือไม่มี  การกำหนดคณะ เช่น ชีวิตบ้านป่า ของ ประสิทธ์ มุกสิกเกษม จ้าวป่า ของ อำนาจ เย็นสบาย ตุ๊กแกผู้อาภัพ ของ เฉิดฉาย เขมวิชานุรัตน์ ลูกไก่แสนสวย ของสุภา ลือศิริ เป็นต้น

         3. การแบ่งตามลักษณะเนื้อหาเป็นหลัง จำแนกได้ 2 ประเภท คือ
               3.1 ประเภทสารคดี สารคดี คือเรื่องราวที่เขียนขึ้นเพื่อให้ความรู้และข้อเท็จจริงต่าง ๆ
มากกว่าที่จะให้ความบันเทิงแก่เด็ก ตัวอย่างของวรรณกรรมสำหรับเด็กประเภทนี้ เช่น แม่โพสพ ของ ม.ล.เติบ ชุมสาย คู่มือเลี้ยงปลาตู้ ของวิริยะ สิริสิงห์ เป็นต้น
               3.2 ประเภทบันเทิงคดี หมายถึง วรรณกรรมสำหรับเด็กที่แต่งขึ้นเพื่อให้ความ
เพลิดเพลินบันเทิงในแก่เด็กมากกว่าที่จะให้ความรู้ เช่น เอื้องแซะสีทอง ของวิชา พรหมจันทร์ อ้วนอี๊ดผจญภัย ของ เบญจา แสงมะลิ ฯลฯ

         4. การแบ่งตามจุดมุ่งหมายในการแต่ง จำแนกได้เป็น 3 ประเภท
               4.1 ประเภทหนังสือแบบเรียน (Textbook)
               4.2 ประเภทหนังสืออ่านเพิ่มเติม (Complementary Readers)
               4.3 ประเภทส่งเสริมการอ่าน (Suplementry Readers)

         5. การแบ่งประเภท ตามลักษณะรูปเล่มและกำหนดเวลาที่ออกเป็นหลัก จำแนกได้เป็น  ประเภท คือ
                5.1 ประเภทหนังสือพิมพ์ (Newspaper) เป็นสิ่งพิมพ์ที่ใช้กระดาษขนาดใหญ่หลายแผ่นพับได้ ไม่เย็บติดกัน หนังสือพิมพ์สำหรับเด็กที่เป็นภาษาไทยยังไม่มีบริษัทใดจัดทำจำหน่าย มีแต่ทำกันขึ้นภายในโรงเรียนเพื่ออ่านกันเองเท่านั้น
                5.2 ประเภทวารสาร(Periodical)
                5.3 ประเภทหนังสือ (Books)
                     5.3.1 หนังสือภาพ (Picture Books)
                     5.3.2 หนังสือภาพชวนขัน (Comic Books)
                     5.3.3 หนังสือทั่ว ๆ ไป (Books)
                5.4 ประเภทจุลสารหรืออนุสาร (Pamphlets)

          6. การแบ่งประเภทตามอายุเป็นหลัก จำแนกออกได้เป็น 5 ประเภท คือ
                6.1 เด็กอายุ 2 - 3 ปี
                6.2 เด็กอายุ 3 - 6 ปี
                6.3 เด็กอายุ 6 -11 ปี
                6.4 เด็กอายุ 11 - 14 ปี
                6.5 เด็กอายุ 14 - 18 ปี


ที่มาจาก http://nw-kana.exteen.com

          7. การแบ่งประเภท ตามระดับชั้นเรียนเป็นหลัก จำแนกออกได้ 3 ประเภท คือ
                7.1 เด็กระดับชั้นอนุบาล ซึ่งมีอายุระหว่าง 3 – 6 ปี
                7.2 เด็กระดับชั้นประถมศึกษา ซึ่งอายุระหว่าง 7 – 12 ปี
                7.3 เด็กระดับชั้นมัธยมศึกษา ซึ่งมีอายุระหว่าง 13 – 18 ปี

          8. การแบ่งประเภทตามรูปแบบเป็นหลัก จำแนกออกเป็น 7 ประเภท คือ
                8.1 หนังสือภาพ
                8.2 วรรณกรรมพื้นบ้าน
                8.3 นิทานสมัยใหม่
                8.4 ร้อยกรอง
                8.5 บันเทิงคดีร่วมสมัย
                8.6 บันเทิงคดีอิงประวัติศาสตร์

                8.7 ความรู้และประวัติบุคคล

ข้อมูลจาก http://courseware.payap.ac.th/docu/th402/2%20information/b1t1p1.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น